ขี้กาดง
ชื่ออื่นๆ : กะดอม (ภาคกลาง) ขี้กาน้อย (สระบุรี) ขี้กาลาย (
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กระดอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnopetalum chinense (Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ลักษณะของขี้กาดง
ต้น ขี้กาดงเป็นไม้เถาลำต้นเป็นร่อง จะมีมือเกาะเป็นเส้นกลมสีเขียวคล้ายลวดสปริง ยาว 14-25 เซนติเมตร ออกตรงข้ามกับใบ
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปร่างต่าง ๆ กัน เป็นรูปไต สามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือฉแก ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันเลื่อย ใบกว้าง 5 -10 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-4 เซนติเมตร เส้นใบแยก จากโคนใบที่จุดเดียวกัน ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ มีขนแข็งปกคลุม สากมือ ทั้งด้านบนและด้านล่าง
ผล ผลสีแดงอมส้ม รูปไข่แกมรูปขอบขนาน ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี มีจำนวนมากขอบขนาน ผิวสาก มีสัน 10 สัน เนื้อสีเขียว เมล็ดรูปรี มีจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของขี้กาดง
ใช้เมล็ด/ใช้การเพาะเมล็ดหรือปักชำก็ได้
ธาตุอาหารหลักที่ขี้กาดงต้องการ
ประโยชน์ของขี้กาดง
ผลอ่อนลวกจิ้มน้ำพริก เป็น ผักแกงป่า เป็นผักแกงป่า และแกงคั่วโดยผ่าเอาเม็ดออก
สรรพคุณทางยาของขี้กาดง
- ผลรสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่ง เพ้อ คุ้มดี คุ้มร้าย ทำโลหิตให้เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก รักษามดลูกหลังอาการแท้ง หรือคลอดบุตร แก้มดลูกอักเสบ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ใช้ผลแห้ง 12-16 ผล น้ำหนักประมาณ 10 กรัม ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 กรองน้ำดื่มเช้าเย็น จนกว่าจะหาย ผลแก่เป็นพิษ
- เมล็ด แก้ผิดสำแดง กินแก้ผลไม้เป็นพิษ รักษาโรคในการแท้งลูก ใช้ขับ น้ำลายช่วยย่อยอาหาร
- ราก รสขม แก้ไข บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษ โลหิตรากแห้งบดผสมน้ำร้อนใช้ทางถูนวดบริเวณที่ปวดเมื่อย
- ใบ น้ำคั้นใบ ใช้หยอดตา แก้อักเสบ แก้พิษของบาดทะยัก
- เถา บำรุงน้ำดี แก้ไข้ เจริญอาหารถอนพิษผิดสำแดง ดีฝ่อ ดีเดือด ดับพิษโลหิตทั้งห้า บำรุงธาตุ แก้ไขจับสั่นรักษมดลูกหลังจากการคลอดบุตร บำรุงน้ำนม
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัว เมื่อฉีดหรือป้อนสารสกัดผลแห้งด้วยแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1) ในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม ไม่เป็นพิษ
คุณค่าทางโภชนาการของขี้กาดง
การแปรรูปของขี้กาดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9807&SystemType=BEDO
www.flickr.com