ปอเทือง
ชื่ออื่นๆ : ปอเทือง
ต้นกำเนิด : ทวีปแอฟริกา
ชื่อสามัญ : Sunn hemp–Indian hemp–Madras hemp–Chanvre indien
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crotalaria juncea
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ลักษณะของปอเทือง
ต้น ลำต้นปอเทือง เป็นพืชล้มลุกปีเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เรียวสูง ลำต้นแตกกิ่งน้อยถึงปานกลาง ขนาดลำต้นประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 1.5-3 เมตร เปลือกลำต้นบางมีสีเขียว
ใบ ใบมีรูปยาวรี กว้างสุดที่กลางใบประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบอ่อนมีสีเขียวสด ใบแก่มีสีเขียวอมเทา โคนใบสอบเล็ก ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ มีเส้นใบแตกออกจากเส้นกลางใบตรงข้ามกัน ทำให้มองดูแผ่นใบมีลายแถบ
ดอก ดอกปอเทืองออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเป็นแบบราซีม บริเวณปลายยอดของกิ่ง แต่ละช่อดอกประกอบด้วยดอกย่อย 8-20 ดอก ดอกตูมมีสีเขียวอมเหลือง ดอกบานมีกลีบดอกสีเหลือง
เมล็ด ผลปอเทือง เรียกเป็นฝัก ที่มีลักษณะทรงกระบอก ขนาดกว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร ฝักอ่อนมีสีเขียวสด เมื่อแก่มีสีน้ำตาล ภายในฝักเป็นโพรงอากาศที่เมล็ดเมล็ดบรรจุอยู่ เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังที่เกิดจากเมล็ดกระทบเปลือกฝัก แต่ละฝักมีประมาณ 6 เมล็ด โดยเมล็ดจะมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมดำ น้ำหนักเมล็ด 1 กิโลกรัม จะมีเมล็ดประมาณ 40,000 –50,000 เมล็ด แต่หากใช้กระบอก 1 ลิตร ตวงตัก จะได้เมล็ดประมาณ 34,481 เมล็ดใบปอเทือง

การขยายพันธุ์ของปอเทือง
ใช้เมล็ด
การปลูกปอเทืองนิยมปลูกใน 2 ฤดู คือ ฤดูหนาวหลังเก็บเกี่ยวข้าว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และฤดูฝนในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการปลูกที่พบในปัจจุบัน ได้แก่
1. ปลูกเพื่อใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด
2. ปลูกเพื่อใช้ทำหญ้าอาหาสัตว์
3. ปลูกเพื่อการท่องเที่ยว
4. ปลูกเพื่อน าดอกไปรับประทาน
ธาตุอาหารหลักที่ปอเทืองต้องการ
ประโยชน์ของปอเทือง
- ใช้ปลูกเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนสูง รวมถึงสารอาหารอื่นด้วย
- ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน ป้องกันหน้าดินพังทลาย
- ใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสำหรับเลี้ยงโค กระบือ รวมถึงดอก และใบที่นำมาเลี้ยงหมูได้เช่นกัน
- .ใช้ปลูกเพื่อนำดอกมารับประทาน ทั้งรับประทานสด หรือลวกจิ้มน้ำพริก รวมถึงใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ แกงอ่อม แกงเลียง ต้มยำ เป็นต้น
- ลำต้นใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ
- เปลือกลำต้นสามารถดึงลอกเป็นเส้นได้ และจัดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวสูง สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชือก ด้าย และอวน เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของปอเทือง
ดอก
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
- ช่วยในการขับลม
- ช่วยเจริญอาหาร
- แก้ลำคออักเสบ
- ช่วยขับเสมหะ
- แก้อาการปวดท้อง รักษาโรคลำไส้อักเสบ
- น้ำต้มใช้อาบแก้อาการคันตามผิวหนัง และรักษาโรคผิวหนัง
ราก
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยขับลม
- ช่วยขับปัสสาวะ
คุณค่าทางโภชนาการของปอเทือง
การแปรรูปของปอเทือง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9664&SystemType=BEDO