หอมหมื่นลี้
ชื่ออื่นๆ : สารภีฝรั่ง (เชียงใหม่) สารภีอ่างกา
ต้นกำเนิด : ประเทศจีน
ชื่อสามัญ : Fragrant tea olive, Sweet olive, Sweet Osmanthus, Tea olive
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osmanthus fragrans Lour.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ลักษณะของหอมหมื่นลี้
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงไม้พุ่ม ไม่ผลัดใบ สูง 1-7 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปหอกหรือแกมรีขอบขนาน กว้าง 1.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง
ดอก ดอกสีขาว เหลืองหรือเหลืองส้ม ออกเป็นกลุ่มตามซอกใบ มีกลิ่นหอม กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก กลีบดอก 4 กลีบ เชื่อมติดกันที่ฐานเป็นหลอด ยาว 3-5 มิลลิเมตร ปลายกลีบแผ่มนกลม เกสรตัวผู้ 2 อัน ติดอยู่ด้านในกลีบดอก เกสรตัวเมีย 1 อัน ปลายแยกเป็น 2 แฉก
ผล ผลเป็นผลสดรูปรี ยาว 1-2 เซนติเมตร เมื่อแก่มีสีม่วงดำ


การขยายพันธุ์ของหอมหมื่นลี้
การปักชำและการตอน
หอมหมื่นลี้มี 2 สายพันธุ์ คือ
- สายพันธุ์ที่มีดอกสีเหลือง
- สายพันธุ์ที่มีดอกสีขาว
ธาตุอาหารหลักที่หอมหมื่นลี้ต้องการ
ประโยชน์ของหอมหมื่นลี้
- หอมหมื่นลี้นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ประเทศอินเดียใช้ดอกในการไล่แมลง
- ในประเทศจีนใช้ดอกหอมหมื่นลี้ผสมในชาเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมและใช้ทำแยม เค้กและไวน์
- เกสรดอกหอมหมื่นลี้ เพิ่มความหวาน ความกลมกล่อมของชาอูหลงก้านอ่อนให้น่าดื่มยิ่งขึ้น
สรรพคุณทางยาของหอมหมื่นลี้
คุณค่าทางโภชนาการของหอมหมื่นลี้
การแปรรูปของหอมหมื่นลี้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th
https://th.wikipedia.org