กาตีล ยางนา
ไม้ยางนา ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb. มีชื่อเรียกอื่นว่า กาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา) เคาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) จะเตียล (เขมร) ชันนา, ยางตัง (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง, ยางขาว, ยางแม่น้ำ, ยางหยวก, ยางนา (ทั่วไป) ยางกุง (ลาว) ยางควาย (หนองคาย) ยางเนิน (จันทบุรี) ราลอย (ส่วยสุรินทร์) ลอยด์ (โซ่-นครพนม) เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ใบแก่จะร่วงลงมา ขณะเดียวกันจะแตกใบใหม่มาทดแทนทันที เนื่องจากมักขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม ความชื้นสูง จึงสามารถผลิตใบใหม่แทนได้ เมื่อโตเต็มที่ไม้ยางนาจะมีความสูง ประมาณ 30 – 40 เมตร ความสูงถึงกิ่งแรก ประมาณ 20 – 25 เมตร หรืออาจมากกว่าถ้าอายุมากๆ ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด


การกระจายพันธุ์ของยางนา
ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ราบริมลําธาร ในป่าดิบทั่วไป ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ดินลึกและมีความชุ่ม ชื้นเพียงพอ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 200 – 600 เมตร
ไม้ยางนาจะพบอยู่ทั่วไป ตั้งแต่ประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยปกติจะพบไม้ยางนาในป่าดิบแล้ว ในที่ราบลุ่มใกล้ ๆ ลําน้ำ หรือในพื้นที่น้ำท่วมถึง หรือเกิดจากดินตะกอนหลังน้ำท่วม เข้าใจกันว่าน้ำจะพัดพาไม้ยางนาให้กระจายไปจากแหล่งเดิม เจริญเติบโตขึ้นในบริเวณดังกล่าวได้ดี ในประเทศไทยไม้ยางนาขึ้นอยู่ทุกภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลําพูน ตาก กําแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ภาตะวันออกเฉียงเหนือ พบทั่วไปในจังหวัดเลย ขอนแก่น และนครราชสีมา ภาคกลาง พบทั่วไปใน จังหวัดสระบุรี นครนายก และกาญจนบุรี ภาคตะวันออกสามารถขึ้นอยู่ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และตราด ภาคใต้ พบที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง
ปัจจุบันปริมาณไม้ยางนาในประเทศลดลงมาก เนื่องจากมีการบุกรุกทําลายป่าไม้เพื่อใช้ ประโยชน์ที่ดินสําหรับเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่อุดมสมบูรณ์ใกล้ ๆ แหล่งน้ำที่มีไม้ยางนาขึ้นอยู่จะเป็นที่ต้องการเพื่อการเพาะปลูกมาก การเจาะโคนต้นไม้ยางนาเพื่อเอาน้ํามันยางโดยใช้ไฟสุมเผาเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทําลายแหล่งพันธุกรรมไม้ยางนา ไฟที่สุมเผาจะทําลายต้นไม้ให้เป็นโพรงและล้มลงได้ง่ายเมื่อมีลมพายุ นอกนากจี้ไฟที่สุมเผาอาจตกลงสู่พื้นลุกลามออกมาเผาผลาญกล้าไม้ที่อยู่รอบ ๆ บริเวณนั้นได้ มีการตัดฟันไม้ยางนาลงมาใช้ประโยชน์กันมาก เนื่องจากคุณลักษณะและคุณสมบัติของไม้ยางสามารถแปรรูปใช้ประโยชน์ได้มากและง่าย นอกจากนี้การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติของไม้ยางนาเอง คือ เมล็ดยางนามักจะถูกแมลงเจาะทําลายขณะที่ยังติดอยู่บนต้น เมื่อร่วงหล่นลงมาในช่วงฤดูร้อน ความชื้นในเมล็ดจะลดลงอย่างรวดเร็ว และสูญเสียความมีชีวิตเพียงในระยะสั้น ๆ ถ้าไม่ได้รับความชื้นเลย ก็จะไม่มีกล้าไม้งอกตามธรรมชาติได้ และการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่บ่อยครั้ง ก็ทําลายกล้าไม้ให้ตายไปอีกเช่นกัน

การขยายพันธุ์ของยางนา
การขยายพันธุ์เพื่อปลูกสร้างสวนป่านิยมใช้ผลเพื่อการขยายพันธุ์ เนื่องจากสามารถเตรียมกล้าได้จํานวนมาก ๆ และสะดวกในการดูแลรักษา โดยเก็บเมล็ดยางนา ซึ่งผลจะแก่จัดในเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศแต่ละท้องที่ ไม้ยางนาในประเทศไทยพบว่า ในภาคใต้ จะแก่ก่อนในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือจะแก่หลังสุด การแก่ของผลยางนาสังเกตได้จากสีของปีกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล การเก็บเมล็ดควรเก็บจากต้นลงมาใช้จะดีที่สุด เมล็ดที่ร่วงหล่นลงมาแล้ว อาจเป็นเมล็ดเสียที่ร่วงเพราะแมลงเจาะ หรือลมพายุพัดให้ร่วงลงมาโดยยังไม่แก่จัดก็ได้ ผลที่แก่จัดพร้อมที่จะเก็บได้แล้ว ดูได้จากสีของผลหรือปีกที่จะเปลี่ยนจากสีเขียว มาเป็นสีน้ำตาลอ่อน ๆ ก็ทําการเก็บเมล็ดได้แล้วไม่จําเป็นต้องรอให้เป็นสีน้ำตาลเข้ม เพราะเมล็ดจะสูญเสียความชื้นภายในเวลาอันรวดเร็วจนไม่อาจใช้เพาะเป็นต้นกล้าไม้ได้ เนื่องจากความมีชีวิตของเมล็ดเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างมากกับความชื้นภายในเมล็ด และพบว่า ถ้าความชื้นภายในเมล็ดน้อยกว่า 30% เมล็ดในวงศ์ยางจะตาย หรือมีเปอร์เซ็นต์การงอกน้อยมาก ดังนั้นเมล็ดเมื่อเก็บมาจากบนต้นแล้วให้รีบทําการเพาะทันที
กรณีที่แม่ไม้มีขนาดสูงใหญ่เกินกว่าที่จะปีนขึ้นไปเก็บได้ ต้องเก็บจากเมล็ดที่ร่วงลงมา จะต้องคัดเลือกดูเฉพาะเมล็ดที่ยังสดและสมบูรณ์อยู่เท่านั้น จากการวิจัยพบว่า เมล็ดที่ร่วงหล่นลงมาเองจะมีเมล็ดดีเพียง 57 เปอร์เซ็นต์เท่านั้ น นอกนั้นจะถูกแมลงทําลาย 34 เปอร์เซ็นต์ และเน่าเสีย 9 เปอร์เซ็นต์
การเพาะเมล็ดยางนา
ต้องรีบเพาะชําทันทีหลังจากเก็บเมล็ดมาแล้ว ก่อนเพาะตัดปีกเมล็ดออกก่อน โดยหยอดเมล็ดลงถุงเพาะชํา หรือเพาะในกระบะเพาะชํา ใช้ขี้เถ้าแกลบเป็นวัสดุเพาะชําวาง เมล็ดให้ส่วนที่อยู่ระหว่างปีกหงายขึ้น กดเมล็ดให้จมลงในวัสดุเพาะชําให้ส่วนที่จะพัฒนาเป็นรากโผล่ขึ้นมาระดับผิววัสดุเพาะชํา แล้วรดน้ําให้ชุ่มก็จะสามารถงอกได้ภายใน 5 – 6 วัน
การเตรียมกล้าไม้จํานวนมาก ๆ ให้ทําการเพาะเมล็ดในกระบะหรือหลุมเดิม โดยนําเมล็ดมากองสุมกันเด็ดปีกออกก่อน แล้วใช้กระสอบป่าน ฟาง หรือขุยมะพร้าว คลุมทับเมล็ดไว้ แล้วรดน้ําให้ชื้นเช้าเย็นทุกวัน ฃ ประมาณ 5 – 7 วัน เมล็ดก็จะงอก แล้วย้ายชําลงถุงต่อไป เมล็ดจะทยอยงอกไปประมาณ 1 เดือน ก็จะหยุดการงอก
วัสดุเพาะชํา
สําหรับบรรจุถุงสําหรับย้ายชําออาจจะใช้ดินบริเวณที่มีกลุ่มต้นยางขึ้นอยู่ผสมกับหน้าดินทั่ว ๆ ไปก็ได้ แต่จากการทดลองของศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่าอาเซียน – แคนาดา พบว่าวัสดุเพาะชํากล้าไม้ยางนาที่ดีควรเป็นขุยมะพร้าวผสมกับหน้าดินจากกลุ่มไม้ยางนาขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งมีเชื้อไมคอร์ไรซาปะปนอยู่ด้วย ในอัตรา 1:1 และใช้ปุ๋ยออสโมคอท กล้าละ 0.5 กรัม สําหรับเร่งการเจริญเติบโต ได้กล้าไม้ยางนาอายุ 4 เดือน สูง 25 – 30 ซม. พร้อมที่จะปลูกลงในแปลงได้
เชื้อไมคออร์ไรซาที่พบในระบบรากของไม้ยางนาเป็นชนิด เคโตไมคอร์ไรซา กล้าไม้ยางนาที่ได้รับการปลูกเชื้อเอคโตไมคออร์ไรซาจะมีการเจริญเติบโตดีกว่ากล้าไม้ที่ไม่ได้รับการปลูกเชื้ออและเมื่อนําไปปลูกในพื้นที่สวนป่าก็จะมีอัตราการรอดตายสูง เพราะเชื้อราที่เจริญอยู่ที่รากช่วยเพิ่มพื้นที่ในการดูดซับน้ำและธาตุอาหารต่าง ๆ ป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นที่รากและเพิ่มความทนทานต่อความแห้งแล้งให้แก่ต้นไม้
ระยะปลูกที่นิยมใช้ในการปลูก
ไม้ยางนา คือ 4 x 4 เมตร ในตอนแรก แล้วตัดสางขยายระยะออกเมื่อต้นยางนาโตมีการเบียดเสียดแข่งขันทั้งทางระบบรากและเรือนยอด โดยตัดสางขยายระยะออกตามความจําเป็น
การแปรรูปของกาตีล ยางนา
ทําหมอนรางรถไฟ น้ำมันยางที่ได้จากการเจาะต้นใช้ทาไม้ ยาแนวหรือ ทาเครื่องจักสาน ทําไต้ ทํายาเป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9572&SystemType=BEDO
https:// www.opsmoac.go.th
https://www.flickr.com