ฝาดดอกขาว
ชื่ออื่นๆ : กะลุง, ขวาด, ฝาด, ลำแพน, ลำแพนหิน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ฝาดดอกขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lumnitzera racemosa Willd.
ชื่อวงศ์ : Combretaceae
ลักษณะของฝาดดอกขาว
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 8 เมตร เปลือกขรุขระ สีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียกเวียนรอบกิ่ง กระจายตลอดกิ่ง แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับ ขนาด 1-3 X 3-9 เซนติเมตร ปลายใบกลมเว้าตื้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก
ดอก ออกที่ปลายกิ่งง่ามใบ เป็นช่อเชิงลด คล้ายช่อกระจะ ยาว 2-3 เซนติเมตร ไม่มีก้านดอก ฐานรองดอกและหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบบด้านข้าง ยาว 0.6-0.9 เซนติเมตร แคบลงทางส่วนปลาย ใบประดับย่อย 2 ใบ รูปไข่กว้าง เชื่อมติดกับฐานรองดอกในทิศตรงกันข้าม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง เรียวแหลม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปรีแคบถึงรูปใบหอก เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่าๆกับกลีบดอก
ผล รูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน ขนาด 0.3-0.5 X 1-1.3 เซนติเมตร ผิวผลเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดสั้นนุ่ม


การขยายพันธุ์ของฝาดดอกขาว
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ฝาดดอกขาวต้องการ
ประโยชน์ของฝาดดอกขาว
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านเรือน ทำฟืน ทำถ่าน
- เปลือก นำมาทุบแช่น้ำให้สีฝาด ใช้ย้อมผ้า ย้อมจีวรพระสงฆ์
สรรพคุณทางยาของฝาดดอกขาว
–
คุณค่าทางโภชนาการของฝาดดอกขาว
การแปรรูปของฝาดดอกขาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9446&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com