เอ็นอ้า
ชื่ออื่นๆ : ม่ายะ (ตราด) เอ็นอ้า (อุบลราชธานี) โคลงเคลงขน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : โคลงเคลงยวน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melastoma saigonense (Kuntze) Merr.
ชื่อวงศ์ : Melastomataceae
ลักษณะของเอ็นอ้า
ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นกลมมีกิ่งก้านสาขามาก เล็กเรียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาด1.2-2.3 x 4.8 ซม. ปลายใบแหลม ฐานใบกลม ขอบใบเรียบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 4-5 เส้น แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้ม มีขนบางๆ ด้านท้องใบสีซีด มีขนหนาแน่น ก้านใบยาว 0.4-0.8 มีขนปกคลุมเมื่อจับแผ่นใบจะรู้สึกสากมือ
ดอก ดอกเดียวออกเป็นช่อกระจุกสั้นๆ 3-6 ซม. ที่ปลายกิ่งช่อดอกมีขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 ซม. วงกลีบเลี้ยงยาว 0.7-1 ซม. สีม่วงแดง มีขนปุยปกคลุม กลีบดอกมีขนาดใหญ่ 5 กลีบ แต่ละกลีบไม่ติดกัน สีชมพู ถึงสีม่วงแดงเข้ม ขนาด 1.5-2.3 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ขนาดใหญ่ 5 อัน มีก้านสีเหลืองและสีม่วง ส่วนบนโค้ง ส่วนขนาดเล็กอีก 5 อัน มีสีเหลืองและเหยียดตรง
ผล ผลเมล็ดกลมรูปถ้วย มีขนปกคลุม เมล็ดเล็กละเอียด หัวหรือโคนต้นเป็นกระเปราะ คล้ายโสมคน เนื้อแข็งผิวขาว ออกดอกและผล ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์ของเอ็นอ้า
การใช้เมล็ด
โคลงเคลง พบทั้งมมด 4 ชนิด คือ
- เอ็นอ้าน้อย มีดอกสีชมพูมม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ เกสรสีเหลือง เกิดตามป่าดงดิบชื้น
- เอ็นอ้าใหญ่ มีดอกสีชมพู มีกลีบดอก 4-5 กลีบ เกสรสีชมพู เกิดตามป่าดงดิบแล้ง บางทีเรียกว่าเอ้นอ้าแดง โสมแดง หรือยางแดง
- เอ็นอ้าขาว มีกลีบดอกสีขาว เกิดตามป่าดงดิบชื้นเขาสูง
- เอ็นอ้าเครือ มีลำต้นเรียวยาว ใบบาง ดอกและผล เหมือนเอ็นอ้าแดง ทั้งหมด
ธาตุอาหารหลักที่เอ็นอ้าต้องการ
ประโยชน์ของเอ็นอ้า
ราก บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง บำรุงตับไต และดี ปรุงยารักษาและเพิ่มถูมิคุ้มกันโรค
สรรพคุณทางยาของเอ็นอ้า
วิธีการปรุงยา :
ทั้ง 5 (ราก, ลำต้น, ใบ, ดอก, ผล) นำมาสับเป็นชิ้น ๆ ต้มเป็นยาหม้อดื่ม
- ดอกและผลสุก เคี้ยวแล้วอมไว้แก้ตามในปาก
- ใบ ตำทาโดยตรงไม่ต้องผสมอย่างอื่น รักษาฝี เกลื้อน

คุณค่าทางโภชนาการของเอ็นอ้า
การแปรรูปของเอ็นอ้า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9235&SystemType=BEDO
https://km.dmcr.go.th
https://www.flickr.com