การบูร ไม้ต้นขนาดกลาง ทุกส่วนมีกลิ่นหอม

การบูร

ชื่ออื่นๆ : อบเชยญวน, พรมเส็ง

ต้นกำเนิด : ไม้พื้นเมืองของประเทศจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน

ชื่อสามัญ : Camphor tree 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl

ชื่อวงศ์ : LAURACEAE

ลักษณะของการบูร

ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. อาจสูงได้ถึง 30 ม. ลำต้นและกิ่งเรียบ ทุกส่วนมีกลิ่นหอมการบูร (camphor)

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ รูปไข่กว้าง หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล มีต่อม 2 ต่อมที่ง่ามใบคู่ล่าง

ดอก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน กลีบรวม 6 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ

ผล ผลค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-1.2 ซม. สีเขียวเข้ม เปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ มี 1 เมล็ด

ต้นการบูร
ต้นการบูร ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นและกิ่งเรียบ
ใบการบูร
ใบการบูร รูปไข่กว้าง หรือรูปรี ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีนวล

การขยายพันธุ์ของการบูร

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่การบูรต้องการ

ประโยชน์ของการบูร

เมื่อนำส่วนต่างๆ ของการบูรมากลั่นจะได้น้ำมันระเหยง่าย ซึ่งประกอบด้วยสารต่างๆ เช่น camphor, safrol, cineole, pinene, camphene, phellandrene และ limonene สำหรับ camphor จะเป็นผลึกแยกออกมาเรียกว่า การบูร ใช้เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ยากระตุ้นหัวใจ ขับลม ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ทำยาทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ

ดอกการบูร
ดอกการบูร ดอกสีเหลืองอ่อน มีขนาดเล็ก

สรรพคุณทางยาของการบูร

ส่วนที่ใช้ ใบ เนื้อไม้ ลูก แก่นต้น ราก 

  • ใบ แก้ปวดฟัน เหงือกบวม แก้ปวดท้อง จุกเสียด แก้ไอ กระตุ้นหัวใจ
  • เนื้อไม้ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้จุกแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง  ท้องร่วง ขับเหงื่อ ถ้านำเนื้อไม้มากลั่นด้วยไอน้ำ จะได้สารการบูร (camphor) ใช้แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้พิษแมลงต่อยและโรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ลูก แก้โรคอหิวาห์
  • เมล็ด แก้อาเจียน
  • แก่นต้น บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร
  • ราก ฆ่าเชื้อ บำรุงหัวใจ ขับเสมหะ เป็นยาทานวดทำให้เลือดมาเลี้ยง ขับลม  เปลือก แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ บำรุงกำลัง  บำรุงหัวใจ

คุณค่าทางโภชนาการของการบูร

การแปรรูปของการบูร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9230&SystemType=BEDO
http:// www.ananhosp.go.th
https://www.flickr.com

7 Comments

Add a Comment