มังคุด
มังคุดเป็นผลไม้ที่มีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งภายในและต่างประเทศเนื่องจากรสชาติที่ไม่เหมือนผลไม้ชนิดใด นอกจากนี้มังคุดยังเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง จัดได้ว่าเป็นแหล่ง อุดมด้วยวิตามิน เกลือแร่ และส่วนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอันได้แก่ วิตามินซี วิตามินเอ โฟเลท แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และสารเยื่อใย จากเนื้อของมังคุดที่ช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย ประโยชน์ของมังคุดมิได้มีอยู่แค่เนื้อในของมังคุดที่เราใช้เป็นอาหารเท่านั้น เปลือกของมังคุดมี ประโยชน์ในทางการแพทยซึ่งนิยมใช้กันตามภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้ แผลหายเร็วเช่นใช้รักษาบาดแผลพุพอง แผลเน่าเปื่อยแผลเป็นหนอง โดยการใช้เปลือกมังคุดฝนกับน้ำปูนใสทาบริเวณแผล น้ำต้มเปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำล้างแผลใช้แทนการด้วยน้ำยาล้างแผลหรือด่างทับทิม โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า รสฝาดในเปลือกมังคุดมีสารแทนนิน (Tannin) และสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีชื่อเรียกเฉพาะชื่อเดียวดับมังคุดว่า สารแมงโกสติน (mangostin) สารแทนนินมีฤทธิ์สมานแผลช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สารแมงโกสตินมีฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบและตา้นเชื้อแบคทีเรียที่ทำใหเ้กิดหนอง สารแซนโทนในเปลือกมังคุด ยังมีฤทธิ์ในการยังยั้งเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และกลากได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนั้นยังพบว่า สารแมงโกสตีนนี้มีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแด้นท์ซึ่งก่อให้เกิดมีประโยชน์ในด้านสุขภาพเป็นอย่างสูงโดยช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและมี คุณสมบัติในการยับยั้งเซลมะเร็งและมีฤทธิ์ในการยับยั้ง HIV ที่ก่อให้เกิดโรค AIDS ได้อีกด้วย จากคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นส่งผลให้มังคุดเป็นผลไม้ที่มากคุณค่าสามารถนำมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ครบทุกส่วนทั้งในแง่ของอาหารเพื่อสุขภาพและในด้านผลิตภัณฑ์เพื่อความงามสำหรับผิวหนัง

สารสำคัญที่พบในมังคุดคือ
มังคุดนอกจากจะประกอบด้วยสารอาการต่างที่พบในเนื้อแล้วในส่วนของเปลือกที่มีรสฝาดมีฤทธิ์ทางยาในหลายด้าน ประกอบด้วยสารแทนนิน ร้อยละ7-15 และสารในกลุ่มแซนโทนที่พบมากในยางกว่าร้อยละ75 ซึ่งประกอบด้วยสารหลายชนิด ได้แก่
- 1,6-dihydroxy-3-methoxy-2-(3-methyl-2-butenyl) xanthone
- 1,5,8-trihydroxy-3-methoxy-2-(3-methyl-2-butenyl) xanthone
- 1,3,6,7-tetrahydroxy xanthone
- 1,3,6,7-tetrahydroxy xanthone-O-.beta.-D-glucoside
- cyaniding-3-O-.beta.-D-sophoroside
- 8-deoxygartanin
- 1,5-dihydroxy-2-isopentenyl-3-methoxy xanthone
- 1,7-dihydroxy-2-isopentenyl-3-methoxy xanthone
- 5,9-dihydroxy-8-methoxy-2,2-dimethyl-7-(3-methylbut-2-enyl)2(H)
- 6(H)-pyrano-(3,2,6)-xanthen-6-one
- cis-hex-3-enyl acetat
- 3-isomangostin, 3-isomangostin hydrate
- 1-isomangostin
- 1-isomangostin hydrate
- mangostin-3,6-di-O-gulcoside
- BR-xanthone-A
- BR-xanthone-B,2,8-bis-(.gamma.,.gamma.-dimethylallyl)-1,3,7 trihydroxyxanthone
- demethylcalabaxanthone2-(.gamma.,.gamma.-dimethylallyl)-1,7-dihydroxy-3- methoxyxanthone1,3,5,8-tetrahydroxy-2,4-diprenylxanthone
- โคลาโนน (kolanone)
- แมงโกสทีน (mangostin)
- เบต้า แมงโกสทีน (beta.-mangostin)
- อัลฟา แมงโกสทีน (alpha.-mangostin)
- นอร์แมงโกสทีน (normangostin)
- คาลาบาแซนโธน (calabaxanthone)
- แมงโกสทานอล (mangostanol)
- แมคลูรีน (maclurin)
- ไครแซนเทมิน (chrysanthemin)
- การ์ซิโนน (garcinone A, B, C, D, E),
- การ์ทานิน (gartanin)
- น้ำตาลกลูโคส ฟรุกโตสและซูโตส
นอกจากปริมาณสาระสำคัญที่สามารถพบได้ในมังคุดแล้วยังมีงานวิจัยหลายงานที่พบว่าในเนื้อมังคุดยังมีสารในกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายตัว ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่เกิดในร่างกายได้

สารสกัดจากมังคุด
- สารสกัดจีเอ็ม-1 (GM-1)
สารสกัดบริสุทธิ์ จีเอ็ม -1 ในมังคุด มีฤทธิ์ต้านเชื้ออแบคทีเรียได้เทียบเท่ายาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ฟื้นฟู ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ ฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในหลอดทดลองและยังอยู่ในช่วงดำเนินการทดสอบการนำไปใช้ประโยชน์ - สารสกัดแทนนิน (Tannin)
เป็นสารที่มีรสฝาด ซึ่งมีมากในเปลือกมังคุดทำให้เกิดอาการท้องผูก ตำรายาไทยระบุสารรสฝาด มีฤทธิ์ฝาดสมานจึงใช้รักษาอาการท้องเสียและรักษาแผลพุพองต่างๆ โดยแทนนินมีฤทธิ์ตกตะกอนโปรตีน และส่วนใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค
แทนนินมีอยู่สองแบบ คือ
2.1. สามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้เรียก ไฮโรไลซ์ แทนนิน ให้เป็นกอลลิก เอซิก (gallic acid) เป็นสารที่มีสีในเปลือกมังคุด
2.2. คอนเดนส์ แทนนิน (condensed tannin) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแอนโทรไซยานิน (proanthrocyanin) สารโปรแอนโทรไซยานินที่ไม่มีสีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงมาก - สารสกัดแซนโทน (Xanthones)
สารสกัดแซนด์โทน (Xanthones) ได้แก่
* แมงโกสติน (Mangostin)
* แมงโกสตีนอล (Mangostenol)
* 1-ไอโซแมงโกสตีน (1-isomangostin)
* แมงโกสตีนไตรอะซิเตรท (mangostintriacetate)
(หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร ณ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
สารประกอบกลุ่มแซนโทนในมังคุด
การแปรรูปมังคุด จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปริมาณสารประกอบกลุ่มแซนโทนที่มีอยู่หรือการเพิ่มเติมส่วนของเปลือกมังคุดไปในส่วนประกอบเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสารประกอบกลุ่ม แซนโทนมี 43 ชนิด ที่มีการศึกษาค้นคว้าในปัจจุบันได้แก่ mangosin, mangostenol, mangostenoneA, mangostenoneB, trapezifolixanthone, tovophyllinB, mangostins, garcinoneB, mangostinone mangostanol ซึ่งสารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมีผลในการยับยั้งต่อเชื้อ Mycobacterium tuberculosis (TB) และมีรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติการเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์หรือคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระของสารประกอบกลุ่มแซนโทน ซึ่งมีในเนื้อมังคุดโดยมีค่า ORAC (Oxygen radical absorbance capacity) สูงถึง 17,000ถึง 24,000 ในขณะที่ลูกพรุนมีค่า ORAC เพียง 7,000 ต่อออนซ์เท่านั้น โครงสร้างแกนหลัก C13 H8 O2 น้ำหมักโมเลกุล 196.19 กรัม/โมล 9H-xanthen-9-one (IUPAC name)
โครงสร้างแกนหลักของสารประกอบกลุ่มแซนโทน
สารสกัดแมทานอลและสารจากเปลือกผลมังคุด ยังยั้งเอนไซม์โพรทีเอส (HIV-1 protease) ซึ่งจำเป็นต่อวงจรชีวิตของเชื้อ HIV นอกจากนี้ยังยับยั้นเอนไซม์โทโพไอโซเมอเรส I และII ซึ่งเป็นกระบวนการถ่ายแบบ DNA เพื่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตโดยเอนไซม์นี้จะคลายเกลียวซูเปอร์คอยล์ ของ DNA เพื่อให้เอนไซม์ชนิดต่างๆ เข้ามาทำการถ่ายแบบต่อไป

สรรพคุณทางยา
- ช่วยปรับสมดุลการทำงานของเซลล์ในร่างกายมนุษย์ให้ทำงานปกติเหมาะสม ลดอาการ บวมน้ำและความเจ็บปวดจากการบวม
- ป้องกันการสั่นที่ปลายประสาทจากโรคพาร์กินสัน
- มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและเพิ่มความดันเลือดได้
- ยังยั้งอนุมูลอิสระและความเจ็บปวดจากการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย
- ยับยั้งการทำงานของไขมันแอลดีแอลที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายลดความเสี่ยงจาก การเกิดไขมันสะสมที่ผิวหนังและหลอดเลือด
- ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่
- รักษาโรคท้องเสียแก้ท้องร่วงเรื้อรรังและโรคลำไส้
- ยาแก้ท้องร่วง ท้องเดิน
- ยาแก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกและอาจมีเลือดด้วย) เป็นยาคุมธาตุ
- ป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา เป็นยารักษาน้ำกัดเท้ารักษาบาดแผล
การใช้ประโยชน์ด้านยารักษาโรค
ส่วนที่ใช้เป็นยา ส่วนที่เป็นเปลือกผลแห้ง
วิธีและปริมาณที่ใช้
- รักษาโรคท้องเสียเรื้อรังและโรคลำไส้ ใช้เปลือกมังคุดครึ่งผล (ประมาณ 4-5กรัม) ต้มกับน้ำความแรง 1 ใน 10 รับประทานครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ถ้าเป็นยาดองเหล้าความแรง 1 ใน 10รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
- ยาแก้อาการท้องเดิน ท้องร่วง ใช้เปลือกผลมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำปูนใส หรือฝนกับน้ำรับประทาน ใช้เปลือกต้มน้ำให้เด็กรับประทานครั้งละ1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ครั้งละ1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 ชั่วโมง
- ยาแก้บิด (ปวดเบ่งและมีมูกและอาจมีเลือดด้วย) ใช้เปลือกผลแห้งประมาณ ½ ผล (4กรัม) ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้วหรือบดเป็นผงละลายน้ำสุก รับประทานทุก2 ชั่วโมง
- เป็นยารักษาแผลน้ำกัดเท้าและแผลพุพองแผลเน่าเปื่อย เปลือกผลสดหรือแห้งฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ พอควร ทาแผลน้ำกัดเท้า วันละ 2-3ครั้ง จนกว่าจะหาย ทาแผลพุพองแผลเปื่อยเน่า
ข้อควรระวัง
ก่อนที่จะใช้ยาทาที่บริเวณน้ำกัดเท้าควรที่จะ
- ล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด
- เช็ดให้แห้ง
- ถ้ามีแอลกอฮอล์เช็ดแผลควรเช็ดก่อนจึงทายา
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เปลือกผลมังคุดมีสาร “แทนนิน” เป็นจำนวนมากมีฤทธิ์แก้อาการ ท้องเดินได้ดีนอกจากนี้ในเปลือกมังคุดยังออกฤทธิ์สำหรับการสมานแผลได้ดีมาก ทั้งยังมีสรรพคุณฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้อีกด้วย โดยเฉพาะเชื้อที่ทำใหเ้กิดหนองและมีฤทธิ์ลดอาการอักเสบลงได้ดี กองวิจัยทางแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษารายงานว่าไม่มีพิษเฉียบพลันแต่ควรระวังเรื่องขนานของการใช้เพราะสารที่เปลือกมังคุดมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางและเพิ่มความดันเลือดได้
การใช้ประโยชน์จากยางมังคุด
ยางมังคุดมีลักษณะเป็นสารสีเหลืองในผลมังคุดและมีประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรม หลายประเภทในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยา สำหรับโรคมะเร็ง โรคเอดส์ยาแกอักเสบ ยาแก้ภูมิแพ้และยารักษาโรคผิวหนัง เนื่องจากยางมังคุดใชเ้ป็นวัตถุดิบในการสกดัสารกลุ่มแซนโทน ซึ่งแต่ละชนิดที่มีฤทธิ์ทางยาที่แตกต่างกันรวมทั้งมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมพลาสติก ทั้งนี้รายงานว่า อนุพันธ์ของสารประกอบกลุ่มแซนโทน ชนิดเตตระไฮดรอกซี (tetra-hydroxyxanthone) เมื่อนำมาผสมกับสารโพลีเอสเตอร์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก จะช่วยให้สามารถยืดอายุการใช้งานได้หลายเท่า เพราะยางมังคุดมีคุณสมบัติการทนแสงอัลตราไวโอเลตจึงถูกใช้ทดสอบเป็นส่วนประกอบของเซลล์แสงอาทิตย์นอกจากนี้ยางมังคุดอาจเข้ามามีบทบาทในการใชเ้ป็นสารเจือปนในอาหาร เพราะฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Staphylococcus Aureus ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ นักวิจัยได้รายงานว่า ยางสีเหลืองนี้ประกอบด้วยสารประกอบกลุ่มแซนโทนถึง 75 เปอร์เซ็นต์ พบมากในส่วนเนื้อเปลือกด้านในและยางมังคุดละลายได้ดีในสารระเหยชนิดมีพิษ ได้แก่ เมทานอลและอะซีโตน และละลายได้อย่างช้าในเอทิลแอลกอฮอล์ (กรมวิชาการเกษตร)

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
- ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย สารสกัดน้ำต้มเปลือกผลมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุ อาการท้องเสีย ได้แก่ Shigella dysenteriae, Sh. flexneri, Sh. sonnei และ Sh. boydii , Escherichia coli, Streptrococcus faecalis, Vibrio cholerae, V. parahaemolyticus, Salmonella agona, S. typhi, S. typhimurium, S. stanley, S. virchow, S.welterverdinและสารสดัดน้ำต้มจากเปลือกผลความเข้มข้น 62.5 – 500 มก./มล. มีฤทธิ์เชื้อแบคทีเรีย V. cholerae, V. parahaemolyticus, Sh. dysenteriae, Sh. typhi และ Sh. boydii แต่มีการศึกษาบางเรื่องพบว่าสารสกัดด้วยน้ำเอทิลอลักอฮอล์ 95% และไดเอทิล อีเทอร์จากเปลือกผลความเข้มข้น 105 มคก./มล. ไม่มีฤทธิ์ยังยั้ง Sh. dysenteriae, Sh. flexneri, Sh. boydii และ Sh. sonnei สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากเปลือกผลไม่มีฤทธิ์ยับยัง E. coli และสารสกัดเอทานอลจากเปลือกผลความเข้มข้น 2.5 มก./แผ่น ไม่มีฤทธิ์ยับยั้ง E. coli - ฤทธิ์แก้อาการท้องเสีย
สารที่พบมากที่เปลือกคือ tannin มีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงช่วยแก้อาการท้องเสียการใช้ทิงเจอร์จากเปลือกผลร่วมกับ emetine จะช่วยลดอาการบิดและลดขนาดยา emetine ที่ต้องใช้ลง - ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนอง สารสกัดเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ยังยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดหนอง คือ Staphylococcus aureus และ S. aureus ที่ดื้อยา methicillin (MRSA) ส่วนสกดที่ 1 จากสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จะให้ผลยับยั้งแบคทีเรียด้วยความเข้มข้นต่ำสุด (MIC) และฆ่าแบคทีเรียด้วยความเข้มข้นต่ำสุด (MBC) ต่อ MRSA ได้ดีกว่า methicillin ถึง 20 เท่าและ 100 เท่า ตามลำดับ แต่ให้ผลยับยั้งและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MIC และ MBC) ต่อS. aureus เท่ากับ methicillin โลชั่นที่ประกอบด้วยสารสกัดจากเปลือกผล0.75% และสบู่เหลวที่ประกอบด้วยสารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกผล0.15% มีฤทธิ์ยับยั้ง S. aureus - สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนอง
สารผสมของ mangostin และอนุพันธ์สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดหนอง คือ Staphylococcus aureus ทั้งสายพันธุ์ปกติและสายพันธุ์ที่ดื้อต่อ penicillin และพบว่า isomangostin มีฤทธิ์น้อยที่สุดสำหรับสาร mangostin มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อStaphylococcus aureus ปกติ และ Staphylococcus aureus สายพันธุ์ที่ดื้อต่อpenicillin โดยค่า MIC 7.8 มก./มล. ส่วนสาร Gartanin, g-mangostin, 1-isomangostin และ 3-isomangostin ตอ้งใชค้วามเขม้ขน้ สูงกวา่ สารผสมของ mangostin, mangostin จากเปลือกผล และ a-mangostin จากเปลือกต้นมีฤทธิ์ยับยั้ง MRSA และ Enterococci ที่ดื้อต่อต่อ vancomycin (VRE) เมื่อใช้ a-mangostin ร่วมกับ gentamycin หรือใช้ร่วมกับ vancomycin hydrochloride จะมีผลร่วมกันในการต้าน VRE และ MRSA ตามลำดับ - ฤทธิ์รักษาแผล Mangostin
จากผลมังคุดมีผลรักษาแผลในหนูขาวได้ ครีม GM1 ประกอบด้วยสารสกัดจาก มังคุด มีคุณสมบัติใช้ในการรักษาแผลแผลติดเชื้ออักเสบ และแผลในผู้ป่วยเบาหวาน - ฤทธิ์ลดการอักเสบ
สารสกัดจากมังคุดมีฤทธิ์ลดการอักเสบในหนูถีบจักรและหนูขาว ที่ถูกเหนี่ยวนา ให้อุ้งเท้าบวม ด้วย carrageenan ลดบวมได้ 45% ยางจากมังคุดประกอบด้วย xanthones > 75% มีฤทธิ์ลดการอักเสบ Mangostin, 1-isomangostin และ mangostintriacetate จากมังคุด เมื่อกรอกปากหรือฉีดเข้าช่องท้องหนูขาวมีผลระงับการอักเสบที่อุ้งเท้าหนูซึ่งใช้ carrageenin ทำให้อักเสบและการอักเสบที่หลังเมื่อฝังก้อนสำลี (cotton pellet implantation) ในหนูที่ตัดต่อมหมวกไตออกทั้ง 2 ข้าง สารทั้ง 3 ตัว ไม่มีผลต่อ stabilize mast cell membrane และไม่สามารถป้องกันการสลายตัวของ mast cells ของหนู เนื่องจากการใช้ polymyxin B, diazoxide, teiton X- 100และไม่เปลี่ยนแปลง prothrombin time สารสกัดเอทานอล 40%, 70%, 100% และสารสกัดน้ำ , g-mangostin และ a-mangostin มีกลไกการออกฤทธิ์ไปยับยั้งการสร้าง prostaglandin E2 (PGE2) นอกจากนั้น g-mangostin ยังออกฤทธิ์ยับยั้ง cyclooxygenase 1 และ 2 ความเข้มข้นของสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้ 50% เท่ากับ 0.8และ 2.0 ไมโครโมล ตามลำดับและสารสกัดด้วยเอทานอล40% จากเปลือกผลขนาด 100 และ 300 มคก./มล. ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งฮีสตามีนจากเซลล์ที่ถูกกระตุ้นได้มากกว่า 80%
Mangostin และอนุพันธ์ที่ละลายน้ำได้ 2 ชนิด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบของข้อ โดยไปยับยั้งขั้นตอนที่ก่อใหเ้กิดการอักเสบในเนื้อเยื่อ ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งซึ่งไม่ใช่กลไกการยับยั้งการสลายของ hyaluronic acid โดยอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลจากปฏิกิริยาออกซิเดชันครีม GM1 ประกอบดว้ยสารสกัดจากมังคุดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เป็น 3 เท่าของแอสไพริน

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
- การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อให้หนูถีบจักรกินสารสกัดจากมังคุด พบว่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ทำให้หนูตาย ครึ่งหนึ่งเท่ากับ9.37 ก./กก. สารสกัดมังคุดที่ความเข้มข้นสูงสุด 20 ก./กก. ไม่ทำให้หนูถีบจักรตายภายในเวลา 3 วัน เมื่อศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดที่ความเข้มข้้น 2, 4 และ 8 ก./กก./วัน มีผลทำให้หนูตาย 14.29, 16.67และ42.86% ตามลำดับและน้ำหนักไตเพิ่มขึ้น - พิษต่อตับ
ฉีดสาร mangostin ในมังคุดเข้าหนูในขนาด 200 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม สารนี้จะไปลดปริมาณเอนไซม์ glutamic oxaloacetic transaminase (SGOT) และ glutamic pyruvic transaminase (SGPT) หลังการฉีดสาร12 ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับ paracetamol โดยป้อนอาหารที่มีสาร mangostin แก่หนูในขนาด 1.5กรัม/น้ำหนักตัว 1กิโลกรัม พบว่า paracetamol เพิ่ม SGOT และ SGPT มากกว่า mangostin โปรตีนในตับของหนูที่ทดสอบด้วย paracetamol ลดลง ในขณะที่หนูที่ทดสอบด้วย mangostin ค่าไม่เปลี่ยนแปลง - ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดด้วยเมทานอล 50% ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อSalmonella typhimurium TA98 และ TA100 - ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์
สารสกัดด้วยเมทานอล 50% มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์จากสาร 2-(2-fluryl)-3(5-nitro-2- fluryl)acrylamide (AF2) ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100 (34) แต่สารสกัดด้วยน้ำร้อนไม่มีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์จากสาร AF2 และ 4-nitroquinoline-l-oxide (4-NQO) ต่อเชื้อ S. typhimurium TA98
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.doa.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
สารแซนโทนในมังคุด (Xanthones) สารแซนโทนคือ ประโยชน์ของสารแซนโทน และสารสำคัญที่พบในมังคุด