กกธูป ยอดอ่อนทานได้ ใบใช้ทำเครื่องจักรสาน

กกธูป

ชื่ออื่นๆ : กกธูป, กกช้าง, เฟือ, ปรือ, หญ้าสลาบหลวง

ต้นกำเนิด : ในทวีปอเมริกาและยุโรป

ชื่อสามัญ : ธูปฤาษี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Typha angustifolia L.

ชื่อวงศ์ : Typhaceae

ลักษณะของกกธูป

ไม้ล้มลุกสองปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ใบเดี่ยวเรียงสลับระนาบเดียว รูปแถบ ยาวประมาณ 2 ม. แผ่นใบด้านบนโค้งเล็กน้อย ส่วนด้านล่างแบน ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกมีจำนวนมาก ติดกันแน่น สีน้ำตาล ลักษณะคล้ายธูปดอกใหญ่ ก้านช่อดอกกลม แข็ง ดอกแยกเพศ แบ่งเป็นตอนเห็นได้ชัด กลุ่มดอกเพศผู้อยู่ปลายก้าน รูปทรงกระบอก กลุ่มดอกเพศเมียรูปทรงกระบอกเช่นกันแต่ใหญ่กว่ากลุ่มดอกเพศผู้ ดอกแก่จะแตกเห็นเป็นขนขาวฟู ผลเล็กมาก เมื่อแก่แตกตามยาว

กกธูป
แผ่นใบบนนูนโค้ง ดอก สีน้ำตาลออกเป็นช่อ

การขยายพันธุ์ของกกธูป

ใช้เมล็ด/เมล็ดมีขนอ่อนนุ่มปลิวไปตามลมได้ง่าย

ธาตุอาหารหลักที่กกธูปต้องการ

ประโยชน์ของกกธูป

  • ธูปฤาษีมีระบบรากที่ดี ช่วยป้องกันการพังทลายของดินชายน้ำ
  • สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุคลุมผิวดินในไม้ยืนต้น สวนไม้ผลต่างๆ เพื่อลดการสูญเสียความชื้นออกจากผิวดิน หรือลดการชะล้างหน้าดินจากน้ำฝนได้
  • ใบเหนียว นิยมใช้มุงหลังคา ใช้ทำเครื่องจักสาน มุงหลังคา และทำเชือก
  • ยอดอ่อนกินได้ทั้งสด และทำให้สุก

สรรพคุณทางยาของกกธูป

ราก ใช้เป็นสมุนไพร ขับปัสสาวะ หรือสกัดเป็นแป้ง

คุณค่าทางโภชนาการของกกธูป

การแปรรูปของกกธูป

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10600&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment