กระชายดำ พืชที่มีเหง้าใต้ดิน มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร

กระชายดำ

ชื่ออื่นๆ :  ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม)

ต้นกำเนิด : แถบเอเชียใต้

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker.

ชื่อวงศ์ : Zinggberaceae

ลักษณะของกระชายดำ

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน สีม่วงดำ ใบ เดี่ยว รูปไข่ หรือรูปรี กว้าง 5-10 ซม. 10-15 ซม. ดอก ออกเป็นช่อแทรกที่โคนกาบใบ ก้านช่อยาว 5-6 ซม. กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาว 3-3.2 ซม. ปลายแยกเป็นแฉก เกสรเพศผู้เป็นหมัน สีขาว รูปขอบขนาน กว้าง 3 มม. ยาว 10-13 มม. กลีบปากสีม่วง

ต้นกระชาย
ต้นกระชาย ใบเดี่ยวรูปไข่ หรือรูปรี

การขยายพันธุ์ของกระชายดำ

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กระชายดำต้องการ

ประโยชน์ของกระชายดำ

เป็นพืชที่มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร สารสกัดจากกระชายดำมีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย เชื้อราและไมโครแบคทีเรีย ต้านการเกิดโรคภูมิแพ้และต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ในสัตว์ทดลองพบว่า มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดแดงที่ถูกแยกออกจากกายของหนูขาว และสร้างไนตริกออกไซค์(NO) บริเวณเยื่อบุหลอดเลือดดำของรกเด็ก กระชายดำในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงอยู่ที่จังหวัดเลย นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเป็นยาบำรุงกำลัง นักรบสมัยก่อนจะนำหัวไปปลุกเสกแล้วอมเวลาต่อสู้ เชื่อว่าทำให้คงกระพัน

กระชายดำ
กระชายดำ เหง้าสีออกม่วงดำ

สรรพคุณทางยาของกระชายดำ

เหง้า รักษาโรคบิด แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด รักษาแผลในปาก ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ
ตำรายาไทย ใช้บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยและอาการเหนื่อยล้า  และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ  ขับลม เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย) แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง  หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก หรือต้มดื่มแก้โรคตา

คุณค่าทางโภชนาการของกระชายดำ

การแปรรูปของกระชายดำ

กระชายดำผง กระชายดำอบแห้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10862&SystemType=BEDO
https://pharmacy.mahidol.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment