กระชายแดง
ชื่ออื่นๆ : กระชายป่า, ขิงแคลง, ขิงแดง, ขิงทราย (ภาคอีสาน), ขิงละแอน (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : เขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia Sp.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะของกระชายแดง
ต้น ไม้ล้มลุกอายุหลายปีมีเหง้าอยู่ใต้ดิน รากสะสมอาหารลักษณะเป็นแท่งกลมเรียวยาว พองตรงกลางฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อนมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่รุนแรงเหมือนกระชายในฤดูฝน จะแตกยอดขึ้นเหนือพื้นดินและอาจเกิดได้ตลอดปีหากดินมีความชื้น มีกาบใบซ้อนกันหลายชั้นสีน้ำตาลแดง ความสูงของทรงพุ่มประมาณ 30-40 ซม.
ใบ ใบเดียวเรียงสลับ รูปไข่ค่อนข้างยาว ขอบใบขนาน กว้าง 4-8 ซม. ยาว 15-30 ซม. เส้นกลางใบเป็นช่องลึก แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน
ดอก เป็นดอกช่อออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบโคนต้น กลีบดอกสีชมพูอ่อนดอกย่อยทยอยบานที่ละดอก ผลแก่มี 3 พู มีเมล็ดอยู่ภายใน
การขยายพันธุ์ของกระชายแดง
ใช้เหง้า
ธาตุอาหารหลักที่กระชายแดงต้องการ
ประโยชน์ของกระชายแดง
- หน่ออ่อน ใช้ปรุงรสน้ำยาขนมจีน และบริโภคเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
- มีการนำกระชายแดงมาใช้เพื่อแก้การถูกคุณไสย ด้วยการใช้หัวนำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน แล้วเสกด้วยคาถาบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ “อิติปิโสภะคะวา จนถึง ภะคะวาติ” ให้ครบ 16จบ ก่อนนำให้ผู้ถูกคุณไสยรับประทาน หรือนำมาใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี
สรรพคุณทางยาของกระชายแดง
หัว ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้กระชุ่มกระชวย ช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น ด้วยการใช้หัวตากแห้งนำมาบดละเอียดละลายผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนกินเป็นประจำก่อนอาหารเช้าและเย็น
คุณค่าทางโภชนาการของกระชายแดง
การแปรรูปของกระชายแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9928&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com