กระชาย ฤดูการปลูก การเตรียมหัวพันธุ์ วิธีปลูกกระชาย

กระชาย

ชื่ออื่นๆ : กระชายดำ (กลาง, มหาสารคาม) กะแอน (มหาสารคาม, เหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) และ ว่านพระอาทิตย์ (กทม)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระชาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่อวงศ์ : Zingiberaceae

ลักษณะของกระชาย

กระชาย เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก

ต้นกระชาย
ใบต้นกระชาย เป็นใบเดี่ยว รูปรี ปลายใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของกระชาย

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การเตรียมดินปลูกกระชาย – ไถพรวนหรือขุดดินเพื่อให้ดินร่วนซุย
– ถ้าดินระบายน้ำดี ไม่จำเป็นต้องยกร่อง
กระชาย สามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด โดยเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดีไม่ท่วมขัง การเตรียมดินควรไถพรวนตอนต้นฤดูฝน และควรมีการยกร่องปลูกโดยมีระยะห่างระหว่างแถว 75 ซม. ระหว่างต้น 30 ซม.
ฤดูการปลูกกระชาย
ปลูกในช่วงฤดูฝนปลายเดือน เมษายน-พฤษภาคมและจะเก็บหัวในช่วงฤดูหนาว คือปลายเดือน ธันวาคม-มกราคม ซึ่งช่วงดังกล่าวหัวจะแห้ง
การปลูกการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย – คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
– แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่น ขนาดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนัก 15-50 กรัม
– แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง มาลาไธออน หรือคลอไพรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ
– ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกัน กำจัดเชื้อราก่อนปลูก
การเตรียมหัวพันธุ์กระชาย
การปลูกใช้ท่อนพันธุ์มี 2 ลักษณะคือหัวแม่และแง่ง
– การปลูกโดยหัวแม่ควรมีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ หัว
– การปลูกด้วย แง่งพันธุ์มีปล้อง 7-9 ปล้อง / ชิ้น น้ำหนัก 15-30 กรัม ยาว 8-12 ซม.
ก่อนปลูกกระชาย หัวพันธุ์ควรแช่ด้วยยาป้องกันเชื้อรา และยาฆ่าเพลี้ยโดยแช่ไว้ประมาณ 30 นาทีการปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก. / ไร่ และวางท่อนพันธุ์ กลบดินหนาประมาณ 5-10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอก ประมาณ 30-70 วัน หลังปลูก
การปลูกกระชาย
– ระยะระหว่างต้น และระหว่างแถว 30×30 ซม.
– ขุดหลุมขนาด กว้าง x ยาว x ลึก 15×15×15 ซม.
– ใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมประมาณหลุมละ 200 กรัม ( 1 กระป๋องนม )
– นำหัวพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงปลูก กลบดินหนา 5 ซม.
– คลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าคาหน้าประมาณ 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการงอกของวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน
– รดน้ำให้ชุ่ม

กระชาย
รากอวบรูปทรงกระบอกปลายเรียวแหลม สีน้ำตาลอ่อน

ธาตุอาหารหลักที่กระชายต้องการ

ประโยชน์ของกระชาย

ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

สรรพคุณทางยาของกระชาย

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

การแปรรูปของกระชาย

References : www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12198&SystemType=BEDO

ภาพประกอบ : https://www.flickr.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

One Comment

Add a Comment