กระดุมไพลิน เป็นไม้ประดับและวัชพืช น้ำมันที่สกัดจากใบเป็นยาปฏิชีวนะ

กระดุมไพลิน

ชื่ออื่นๆ : กระดุมไพลิน, กระดุมหยก (กรุงเทพฯ)

ต้นกำเนิด : อเมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centratherum punctatum Cass.

ชื่อวงศ์ : Brazil button flower

ลักษณะของกระดุมไพลิน

ต้น: ไม้ล้มลุก สูง 10–50 ซม. มีขนสั้นนุ่มตามลำต้นและใบ

ใบ: ใบเรียงเวียน ยาว 2.5–8 ซม. ขอบจักซี่ฟันสองชั้น เส้นแขนงใบข้างละ 5–8 เส้น ก้านใบยาว 0.5–1 ซม. มีครีบ

ดอก: ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่นออกเดี่ยว ๆ ที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–8 ซม. ก้านช่อยาว 5–8 ซม. วงใบประดับชั้นนอกคล้ายใบ ไม่มีดอกย่อย ชั้นในสีเขียวมีแต้มสีม่วงแดง รูปขอบขนาน ยาว 0.5–1 ซม. ดอกสีม่วง ดอกย่อยวงในยาว 0.9–1.4 ซม. วงกลีบดอกเชื่อมติดเป็นหลอด ด้านในมีขน มี 5 แฉกรูปขอบขนาน เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่ใต้วงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียแยก 2 แฉก

ผล: ผลแห้งเมล็ดล่อน ยาว 3–5 มม. มีสันตามยาว แพปพัสเป็นขนคล้ายหนามจำนวนมาก ยาว 1–3 มม.

ต้นกระดุมไพลิน
ต้นกระดุมไพลิน มีขนสั้นนุ่มตามลำต้นและใบ ใบขอบจักซี่ฟัน

การขยายพันธุ์ของกระดุมไพลิน

กระจายพันธุ์ด้วยตนเองจากเมล็ดแก่ที่หลุดล่วงจากต้นแม่

ธาตุอาหารหลักที่กระดุมไพลินต้องการ

ประโยชน์ของกระดุมไพลิน

  • ปลูกเป็นไม้คลุมดิน
  • เป็นไม้ประดับและวัชพืช
  • น้ำมันที่สกัดจากใบเป็นยาปฏิชีวนะ
ดอกกระดุมไพลิน
ดอกกระดุมไพลิน ดอกสีม่วง วงกลีบดอกเชื่อมติดเป็นหลอด ด้านในมีขน

สรรพคุณทางยาของกระดุมไพลิน

คุณค่าทางโภชนาการของกระดุมไพลิน

การแปรรูปของกระดุมไพลิน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10521&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment