กระดูกไก่ดำ รากและใบใช้ถอนพิษอสรพิษขบกัด

กระดูกไก่ดำ

ชื่ออื่นๆ : บัวลาคำ , เกี๋ยงผา (ภาคเหนือ), เฉียงพร้ามอญ , สันพร้ามอญ,สำมะงาจีน, เฉียงพร้าบ้าน, เฉียงพร้าม่าน, ผีมอญ (ภาคกลาง),กะลาดำ,กระดูกดำ (จันทบุรี), แสนทะแมน, ปองดำ (ตราด), เฉียงพร้า (สุราษฎร์ธานี), ซ่าเลิมหลาม (ไทยใหญ่) , กรอกะโต๊ะ (กะเหรี่ยง) , ปั๋วกู่ตาน (จีน)

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้บริเวณประเทศ อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาล ประเทศไทย สามารถพบได้เกือบทั่วทุกภาคของประเทศ

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Justicia gendarussa Burm.f.

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของกระดูกไก่ดำ

เป็นไม้พุ่มขนาดย่อมคล้ายกับต้นเสลดพังพอน มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร  ลำต้นและกิ่งเป็นสีม่วงแดงถึงสีดำ ผิวลำต้นและกิ่งมีลักษณะเกลี้ยงมันเป็นปล้องข้อ ดูคล้ายกับกระดูกไก่ (จึงเป็นที่มาของชื่อต้นกระดูกไก่ดำ) โดยขนาดของข้อลำต้นจะยาวข้อละประมาณ 2-2.5 นิ้ว ส่วนข้อของปล้องกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว

ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปใบหอก เล็กเรียวแหลมทั้งปลายใบและโคนใบ ขอบใบเรียบกว้างประมาณ 1-3เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-15เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นมัน ด้านหน้าใบสีเขียวสด มีเส้นกลางใบเป็นสีแดงอมดำที่เห็นชัด ส่วนหลังใบเป็นสีเหลืองสีเขียว ก้านใบสั้นและใบมีรสขม  ดอกออกเป็นช่อบริเวณส่วนยอดและปลายกิ่ง โดยในช่อ จะมีความยาวประมาณ 2-3 นิ้ว

ดอก ดอกจะมีลักษณะเป็นหลอดเล็ก ๆ ในก้านบริเวณปลายดอกจะแยกออกเป็นกลีบดอก ซึ่งกลีบดอกเป็นสีขาวแกมชมพู มีลักษณะโค้งงอนเหมือนช้อน ข้างในหลอดดอกมีเกสรเพศผู้ โผล่  ส่วนบริเวณโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน

ผล ผลออกเป็นฝัก ยาว 1-1.5 เซนติเมตร โดยเมื่อแก่ฝักจะแตกออกมา ด้านในมีเมล็ดหลายเมล็ดลักษณะกลมแบนมีสีดำ

ต้นกระดูกไก่ดำ
ต้นกระดูกไก่ดำ ลำต้นและกิ่งเป็นสีม่วงแดงถึงสีดำ

การขยายพันธุ์ของกระดูกไก่ดำ

การเพาะเมล็ด และการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่กระดูกไก่ดำต้องการ

ประโยชน์ของกระดูกไก่ดำ

สรรพคุณทางยาของกระดูกไก่ดำ

  • รากและใบ รสเย็น ถอนพิษอสรพิษขบกัด แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
  • ใบ รสเย็น เป็นยาแก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ แก้มอัมพาต เป็นยาแก้ไอ อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน ขับปัสสาวะ แก้ปวดบวมตามข้อ กากของใบที่โขลกนำมาพอกแผลดูดพิษ ที่ถูกอสรขบกัด แก้ช้ำ แก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • ถอนพิษอสรพิษขบกัด โดยใช้รากและใบสด 5-10 กรัม ล้างให้สะอาดโขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อยพอกบริเวณที่เป็น
  • แก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน โดยใช้ใบและทั้งต้น 50 กรัม ต้มในน้ำเดือดใช้อาบหรือชำระร่างกาย
  • แก้ปวดศีรษะ โรคหืด ไอ และอาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน โดยใช้ใบสด 10-20 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้ละเอียดผสมเหล้าโรงเล็กน้อยคั้นเอาน้ำจิบ กากของใบที่เหลือนำมาพอกแผลดูดพิษ ที่ถูกอสรพิษขบกัด ถ้านำใบมาต้มเอาน้ำดื่มแก้ช้ำ แก้ไข้ ลดความร้อน ขับเลือดข้นในร่างกายให้กระจาย
ดอกกระดูกไก่ดำ
ดอกกระดูกไก่ดำ ดอกสีขาวแกมชมพู

คุณค่าทางโภชนาการของกระดูกไก่ดำ

การแปรรูปของกระดูกไก่ดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11487&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment