กระถินณรงค์เบิกนำในการปลูกป่าในพื้นดินเสื่อมโทรมได้ดี
ชื่ออื่นๆ : กระถินณรงค์ (กรุงเทพมหานคร)
ต้นกำเนิด : ปาปัวนิวกินี
ชื่อสามัญ : Black wattle, Wattle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia auriculiformis A. Cunn. ex Benth.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Mimosoideaeเบิกนำในการปลูกป่าในพื้นดินเสื่อมโทรมได้ดี
ลักษณะของกระถินณรงค์
ต้น ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10.85 เมตร ขึ้นอยู่กลางแจ้ง ผิวลำต้นหยาบ ขรุขระแตกเป็นเส้น ต้นมีสีน้ำตาล ไม่มีน้ำยาง มีลำต้นอยู่เหนือดินสามารถตั้งตรงเองได้
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะโค้งเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่ขอบใบจะเรียวเรียบ ขนาดของใบยาว 15.3 เซนติเมตร กว้าง 2.3 เซนติเมตร ใบอ่อนจะมีสีเขียวอ่อนส่วนใบแก่จะมีสีเขียวเข้ม มีสองใบย่อยแบบขนนกสองชั้น จะเรียงสลับใบระนาบเดียวกัน
ดอก ดอกจะออกเป็นช่อที่ปลายดอก เป็นช่อเชิงลด ดอกจะมีสีเหลือง กลีบดอเบิกนำในการปลูกป่าในพื้นดินเสื่อมโทรมได้ดีกติดกัน มี 3 กลีบ เป็นสีเหลืองมีเกสรเพศผู้จำนวน 20 อัน จะมีสีเหลืองอ่อน และมีเกสรเพศเมียจำนวน 1 อันมีสีขาว มีรังไข่อยู่ที่กึ่งกลางใต้วงกลีบ มีกลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวย ดอกจะหอมอ่อนตลอดวัน
ผล มีผลสดสีเขียว มีเนื้อหลายเมล็ด ผลแห้งมีสีน้ำตาล ผลแห้งแล้วแตก ผลมีลักษณะขดเหมือนสปริง มีเมล็ดจำนวน 5- 10 เมล็ด รูปร่างของเมล็ดจะแบน
การขยายพันธุ์ของกระถินณรงค์
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่กระถินณรงค์ต้องการ
ประโยชน์ของกระถินณรงค์
กระถินณรงค์เป็นไม้โตเร็ว ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา นิยมปลูกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการใช้เป็นพืชเบิกนำในการปลูกป่าในพื้นดินเสื่อมโทรมได้ดีแล้ว ยังใช้ตัดฟันเป็นไม้ฟืนเชื้อเพลิง ซึ่งมีการวิจัยโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อใช้ไม้กระถินเป็นเชื้อเพลิง และประโยชน์อื่นๆ เช่นเผาถ่าน ทำเฟอร์นิเจอร์ และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษได้ด้วย
สรรพคุณทางยาของกระถินณรงค์
เปลือกต้น สมานแผล ห้ามเลือด แก้ท้องเสีย
คุณค่าทางโภชนาการของกระถินณรงค์
การแปรรูปของกระถินณรงค์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11504&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com