กระท่อมขี้หมู ยาแผนโบราณสำหรับบำบัดโรคท้องร่วง

กระท่อมขี้หมู

ชื่ออื่นๆ : กระท่อมขี้หมู (เหนือ) กระทุ่มดง (กาญจนบุรี) กระทุ่มน้ำ (กลาง) กาตูม (เขมร-ปราจีนบุรี) ตุ้มแซะ, ตุ้มน้อย, ตุ้มน้ำ (เหนือ) ถ่มพาย (เลย) ท่อมขี้หมู (สงขลา)  ท่อมนา (สุราษฎร์ธานี) โทมน้อย (เพชรบูรณ์)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระทุ่มนา Mitrayna Korth.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mitragyna rotundifolia (Roxb. ) Kuntze

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของกระท่อมขี้หมู

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ค่อนข้างโปร่ง ผลัดใบ สูง 8- 15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งตา

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบเกือบกลม โคนและปลายใบมน เว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปรายหรือเกลี้ยง

ดอก ดอกช่อเป็นกระจุกแน่นตามปลายกิ่ง มีใบประดับขนาดใหญ่แซมห่างๆ บริเวณส่วนล่างของช่อ แต่ละช่อมีดอกเล็กๆ ไม่มีก้านดอก กลิ่นหอม กลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอกสีนวล ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 แฉก

ผล ผลแห้ง แตก รูปไข่ ขนาดเล็ก

กระท่อมขี้หมู
ลำตนคดหรือเปลาตรง ใบเป็นรูปไข่ รูปขอบขนานปลายใบมน

การขยายพันธุ์ของกระท่อมขี้หมู

ใช้เมล็ด/นิยมเพาะปลูกด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กระท่อมขี้หมูต้องการ

ประโยชน์ของกระท่อมขี้หมู

  • ยาแผนโบราณของไทยใช้ใบกระท่อมขี้หมูแทนใยกระท่อม สำหรับบำบัดโรคท้องร่วง เมื่อขาดแคลานใบกระท่อม (เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, 2522) ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา (sAXTON, 1965) พบว่าแอลคาลอยด์ชนิดนี้มีสรรพคุณ ลดความดันโลหิต และออกฤทธิ์กดต่อกล้ามเนื้อเรียบในสัตว์ทดลอง ประโยชน์ ลดความดันโลหิต ใช้แทนใบกระท่อมในการบำบัดโรคท้องร่วง กระท่อมใบมนกระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มักขึ้นในป่าเบญจพรรณชื้น
  • นำมารับประทานเป็นผลไม้

สรรพคุณทางยาของกระท่อมขี้หมู

ใบมีรสขมเฝื่อนเมา มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตและออกฤทธิ์กดต่อประสาทและกล้ามเนื้อ

คุณค่าทางโภชนาการของกระท่อมขี้หมู

การแปรรูปของกระท่อมขี้หมู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10695&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment