กระท้อน ลำแข เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

กระท้อน

ชื่ออื่นๆ :  เตียน ล่อน สะท้อน (ใต้) มะต้อง (เหนือ,อุดรฯ) มะตื๋น (เหนือ) สตียา สะตูเมา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sandoricum koetjape ( Burm. f.) Merr.

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะของกระท้อน

กระท้อนเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 15 – 30 เมตร อายุขัยเฉลี่ยประมาณ 40 – 50 ปี บางต้นสอายุยืน เป็น 100 ปี ก็เป็นไปได้ เปลือกต้นสีเทา ใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีแกมไข่จนถึงขอบขนาน ขนาดประมาณ กว้าง 6 – 15 ซม. ยาว 8 – 20 ซม. เมื่อใบแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงดอกออกเป็นช่อ ที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีเหลืองนวล

กระท้อน ลูกท้อน ผิวผลมีขนแบบกำมะหยี่ เม็ดกระท้อนมีปุยเหมือนปุยฝ้าย
ลูกกะท้อน
ผลกระท้อนสุก
ผลสุกมีสีเหลืองผิวมีขนแบบกำมะหยี่อ่อนนุ่ม

ลำแข

ชื่ออื่นๆ :  ลำแข หรือ รำมะแข ลูกปุย (พังงา ภูเก็ต) มือแค(มลายูถิ่น) มะไฟกา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea macrocarpa (Miq.)

ชื่อวงศ์ : Phyllanthaceae

ลักษณะของลำแข

ไม้ต้น สูงได้ถึง 25 ม. ใบรูปรีถึงรูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 7-37 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีขนประปรายตามเส้นใบ ก้านใบยาวได้ถึง 14 ซม. ช่อดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุก 1-3 ช่อ ยาวได้ถึง 13 ซม. ใบประดับขนาดเล็ก ดอกกระจายตลอดความยาวช่อ ดอกบาน เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ช่อดอกเพศเมียออกเป็นกระจุก 1-3 ช่อ ยาวได้ถึง 18 ซม. ก้านเกสรเพศเมียยาว 0.5-1.5 มม. ยอดเกสรแยก 2 แฉก ยาว 0.5-1 มม. ผล เส้นผ่าศูนย์กลางยาวได้ถึง 8 ซม. ผลคล้ายกับลูกกระท้อน หรือลูกเตียน เนื้อผลลักษณะคล้ายลองกอง ผิวของเปลือกสีส้มเข้ม สีน้ำตาลเหลืองหรือแดง อมเขียว ด้านนอกมีขนละเอียดประปราย ด้านในมีขนหนาแน่นหรือเกือบเกลี้ยง เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาวหรือเหลืองอมส้ม

ผลลำแข
ผลลำแข ผิวของเปลือกสีส้มเข้ม สีน้ำตาลเหลืองหรือแดง
เนื้อผลลำแข
เนื้อผลลำแข เนื้อสีขาว เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11777&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment