กระวาน
ชื่ออื่นๆ : ปล้าก้อ (ปัตตานี) กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) มะอี้ (ภาคเหนือ) ข่าโคก, ข่าโค่ม, หมากเนิ้ง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กระวานไทย, กระวานดำ, กระวานแดง, กระวานจันทร์, กระวานโพธิสัตว์
ต้นกำเนิด : ประเทศศรีลังกา และทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ : Camphor Seeds, Round Siam Cardamon, Best Camdamon,Clustered Cardamon
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amomum krervanh Pierre ex Gagn
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ลักษณะของกระวาน
ต้น กระวาน เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน
ใบ ใบเป็นมัน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลมออกสลับกันที่โคนต้น ก้านใบเป็นกาบติดต้น ออกดอกเป็นช่อเหนือพื้นดินเล็กน้อย ลำต้นเป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน มีข้อประมาณ 8 – 20 ข้อ กระวานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ก้านใบโค้งมีกาบใบติดกันใบออกสลับกันที่โคนต้น ใบมีสีเขียวเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ใบสูงจากพื้นดินประมาณ 2 – 12 ฟุต
ดอก ดอกออกเป็นช่ออยู่ใกล้โคนต้นบริเวณผิวดิน กลีบดอกสีเหลือง ออกผลเป็นช่อ
ผล ผลกลม ช่อหนึ่งๆมีผลประมาณ 10 – 20 ผล รูปกลม ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 9 – 18 เมล็ด เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร มีรสเผ็ด
การขยายพันธุ์ของกระวาน
วิธีปลูก
การปลูกกระวานควรปลูกเป็นพืชแซมไม้ผล ไม้ยืนต้นเพื่อให้ร่มเงา การขยายพันธุ์ควรใช้เหง้า ซึ่งเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่นิยมเพราะกระวาน
จะให้ดอกผลเร็วกว่าการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดปลูก เหง้าที่ใช้เพาะปลูกควรแยกออกจากกอแม่ที่มีอายุไม่น้อยกว่า 18 เดือน ถึง 2 ปี
และเหง้าที่แยกออกมาควรมีหน่อติดมาด้วยประมาณ 2 – 3 หน่อ และหน่อที่ใช้ควรมีความสูงประมาณ 1 – 2.5 ฟุต หลุมปลูกกระวานควรมีขนาด
กว้าง x ยาว x ลึก ประมาณ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 2 x 2 เมตร ไม่นิยมปลูกชิดมาก
ต้องเว้นพื้นที่ว่างไว้ให้หน่อได้ขยายเพิ่มขึ้นทุก ๆปี ฝังหน่อลึกประมาณ 3 – 4 นิ้ว รดน้ำให้ความชุ่มชื้น
ธาตุอาหารหลักที่กระวานต้องการ
การดูแล
กระวานเป็นพืชที่ไม่ต้องดูและรักษามาก ควรกำจัดวัชพืชบ้าง ที่สำคัญควรทำการริดใบ โดยตัดใบและลำต้นที่แห้งแก่ตายหรือมีลักษณะ
ที่ไม่สมบูรณ์ออกให้หมด เพื่อให้สะดวกในการเก็บเกี่ยว การป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ปกติกระวานไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวนมากนัก
นอกจากโรคใบไหม้ซึ่งอาจจะเกิดจากการได้รับแสงแดดมากเกินไป ส่วนศัตรูอื่น ได้แก่ หนู กระรอก และกระแต ซึ่งจะกัดทำลายเมล็ด
ในระยะรอเก็บเกี่ยว การตัดหน้อกระวานออกจากต้นแม่เพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่นนั้น จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการติดผลของกระวาน
ประโยชน์ของกระวาน
กระวานสามารถใช้ในการรับประทานเป็นอาหารและเครื่องเทศแต่งกลิ่นได้ โดยสามารถนำเหง้าอ่อนของกระวานมารับประทาน ส่วนนผลแก่ของกระวานให้นำมาตากแห้งและใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นเพิ่มความหอมให้กับอาหาร ทั้งที่เป็นอาหารคาว ขนม คุกกี้ เค๊ก และยังช่วยในการดับกลิ่นอาหารคาวที่มีกลิ่นแรงได้ด้วย
สรรพคุณทางยาของกระวาน
- ราก แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาด หัวและหน่อ ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนัง
- เปลือก แก้ไข้ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไขอันเป็นอชินโรค
- แก่น ขับพิษร้าย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษ กระพี้ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิต
- ใบ แก้ลมสันนิบาด ขับผายลม ขับเสมหะ รักษาโรครำมะนาด แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม จุกเสียด บำรุงกำลัง
- ผลแก่ รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย (Essentialoil) 5-9 เปอร์เซ็นต์ มีฤทธิ์ขับลมและบำรุงธาตุยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ วิธีใช้แก้อาหารท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลมและแน่จุกเสียด โดยใช้ผลกระวานแก่จัดประมาณ 6-10 ผล ตากแห้งปดเป็นผง รับประทานครั้งละ 1-3 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว ใช้รับประทานครั้งเดียว นอกจากนี้ผลกระวานยังใช้ผสมกับยาถ่าย เช่น มะขามแขกเพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้อง เมล็ด แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ บำรุงธาตุ เหง้าอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักได้ มีกลิ่นหอมและเผ็ดเล็กน้อย
คุณค่าทางโภชนาการของกระวาน
การแปรรูปของกระวาน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11226&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments