กระเทียมเถา
ชื่ออื่นๆ : กระเทียมเถา
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Garlic vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pachyptera hymenaea (DC.) A. Gentry
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะของกระเทียมเถา
ต้น กระเทียมเถาเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดกลาง มีลำต้นเป็นเถาใหญ่ แข็งแรง สามารถเลื้อยไปได้ไกลมากกว่า 10 เมตร เถาอ่อนและส่วนยอดจะเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวเรียบเกี้ยง
ใบ มีใบประเภทใบประกอบ มีใบย่อย 1 คู่ ออกตรงข้ามกันตามข้อต้น เป็นไม้ใบบางแต่แข็งกระด้าง รูปใบรีหรือมน หรือใบรูปไขjขอบใบเรียบปลายใบและโคนใบแหลมก้านใบสั้นมีมือเกาะอยู่ระหว่างใบย่อยแต่ละคู่ในขณะที่ใบยังอ่อน ใบจะมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นกระเทียม
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามข้อต้น หรือตามโคนกาบใบ ช่อหนึ่งจะมีประมาณ 10-20 ดอก ดอกสีม่วงอ่อน ตรงปากดอกหรือกลางดอกสีค่อนข้างขาวมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเล็กน้อย ลักษณะดอกจะเป็นรูปกรวยปากบาน หรือรูปแตร มีกลีบดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานใหม่ ๆ จะเป็นสีขาว แล้วจะกลายเป็นสีชมพูและสีม่วง เมื่อแก่จัด มีเกสรตัวผู้ภายในดอก 4 อัน สั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน ในช่วงที่ออกดอก กระเทียมเถาจะทิ้งใบหมด
ผล ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 1.2-1.5 เซนติเมตร ยาว 14-20 เซนติเมตร ปลายแหลม เมล็ดจำนวนมาก แบน มีปีกบางใสทั้งสองด้าน
การขยายพันธุ์ของกระเทียมเถา
ใช้กิ่ง/ลำต้น/นำกิ่งมาปักชำหรือตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่กระเทียมเถาต้องการ
ประโยชน์ของกระเทียมเถา
- ปลูกประดับบ้าน
- ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของกระเทียมเถา
–
คุณค่าทางโภชนาการของกระเทียมเถา
การแปรรูปของกระเทียมเถา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10598&SystemType=BEDO
http:// plant.opat.ac.th