กล้วยขนุน มีเนื้อเหนียว ผลสุกรสชาติหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายกลิ่นขนุน ไม่มีเมล็ด 

กล้วยขนุน

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด : ภาคใต้ แหล่งที่พบ  จังหวัดนราธิวาส

ชื่อสามัญ : Kluai Khanun

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA) ‘Khanun’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยขนุน

ลำต้น:  ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำที่คอใบ มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อนมีปื้นแดง ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียว ไม่มีปื้นที่ลำต้น

ใบ: ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบแดง ลักษณะใบกว้าง โค้งลง โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก หรือปลี: ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับยาว ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ด้านในโคนใบประดับสีเหลือง ด้านในปลายใบประดับสีแดง ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ดอกมีก้านดอกสั้น ขนาดผลใหญ่ยาว ปลายผลจุกเป็นจีบยาวชัดเจน

ผล: การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 18-20 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลือง รสชาติหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นขนุน ไม่มีเมล็ด กล้วยขนุน จะมีเนื้อเหนียว หักไม่ออก ปล่อยให้สุกงอมจนเปลือกมีผิวดำ แต่เนื้อยังกรอบ ไม่เละเหมือนกับกล้วยหอมทั่วไป

กล้วยขนุน
กล้วยขนุน ผลดิบมีสีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของกล้วยขนุน

แยกหน่อ

ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยขนุนต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยขนุน

  • ผลสุกนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้
  • ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนม ห่อหมกทำอาหาร
  • กาบกล้วยใช้ทำเป็นเชือกรัดของ
  • ต้นกล้วยใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ

สรรพคุณทางยาของกล้วยขนุน

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยขนุน

การแปรรูปของกล้วยขนุน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11028&SystemType=BEDO
http://rprp.hwt.co.th
https://www.youtube.com

Add a Comment