กล้วยขมบุรีรัมย์
ชื่ออื่นๆ : กล้วยขมหนัก
ต้นกำเนิด : พบมากทางภาคตะวันตก ภาคอีสาน
ชื่อสามัญ : Kluai Khom Burirum
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB) ‘Khom Burirum’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยขมบุรีรัมย์
ต้น ลำต้นเทียมสูงมากกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประสีดำปานกลาง มีไข กาบลำต้นด้านในมีสีชมพูอ่อน
ใบ ก้านใบสีเขียว มีครีบสีชมพู เปิดเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก หรือปลี ก้านดอกมีขนมาก ใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้นเล็กน้อย ด้านบนสีม่วงอมเทา มีนวลปานกลาง ด้านล่างสีแดง เครือห้อยลง ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 6-7 หวี หวีหนึ่งมี 10-12 ผล ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม เนื้อสีเหลืองครีม เนื้อนิ่มละเอียด กลิ่นหอม รสชาติหวานมาก ๆ กว่ากล้วยขมเบา ไม่มีเมล็ด

การขยายพันธุ์ของกล้วยขมบุรีรัมย์
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยขมบุรีรัมย์ต้องการ
การปลูกกลางแจ้ง,ร่มรำไร
ประโยชน์ของกล้วยขมบุรีรัมย์
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของกล้วยขมบุรีรัมย์
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยขมบุรีรัมย์
การแปรรูปของกล้วยขมบุรีรัมย์
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org
ภาพประกอบ : คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด