กล้วยตานีด่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ พันธุ์กล้วย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

กล้วยตานีด่าง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยตานีด่าง

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Kluai Tani Dang

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa ballbisiana Colla ‘Variegated’

ชื่อพ้อง : Musa martini Van Geert, Musa elata Nakai, Musa pruinosa (King ex Baker), Burkill Musa rosacea Jacq.

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยตานีด่าง

ต้น  ลำต้นเทียมสูงประมาณ 4 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีเส้นริ้วด่างขาว มีปื้นดำที่คอใบเล็กน้อย มีนวลชัดเจน กาบด้านใน สีเขียว ต้นอ่อนลำต้นสีเขียวเข้ม ไม่มีประที่ลำต้น

ใบ  ก้านใบปิด ก้านใบสีเขียวเข้ม มีครีบก้านใบสีเขียวขอบดำ ใบกว้างโค้งลง โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน เส้นกลางใบและก้านใบสีขาวหรือสีเหลือง หรือเป็นสีเขียวมีเส้นสีขาวหรือสีเหลืองตลอดความยาว

ต้นกล้วยตานีด่าง
ต้นกล้วยตานีด่าง ลำต้นเทียมสูงประมาณ 4 เมตร
ก้านใบต้นกล้วยตานีด่าง
ก้านใบต้นกล้วยตานีด่าง ก้านใบสีเขียวเข้ม โคนใบสีเหลืองซีด

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลายก้านช่อดอกโค้งลง ใบประดับกว้าง ปลายมน ไม่ม้วนงอ ใบประดับด้านนอกสีน้ำตาลอมแดงมีไขเยอะ ด้านในโคนใบสีเหลืองซีด ด้านในปลายใบสีแดงอมชมพู ใบประดับเรียงเหลื่อมซ้อนกันชัดเจน ก้านดอกยาว

ผล  ทรงเครือขนานกับพื้นดิน ผลขนาดเล็กสั้นป้อมมีเหลี่ยมชัดเจน ปลายผลมีจุกยาวชัดเจน ผลเรียงเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 7-8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 8-10 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้มมีริ้วด่างขาว เมื่อสุกเนื้อผลสีขาว มีเมล็ดมาก

เมล็ด  สีดำ ผนังเมล็ดหนาและแข็ง

ใบกล้วยตานีด่าง
ใบกล้วยตานีด่าง เส้นกลางใบและก้านใบสีขาวหรือสีเหลือง
ผลกล้วยตานีด่าง
ผลกล้วยตานีด่าง ผลดิบมีสีเขียวเข้มมีริ้วด่างขาว

การขยายพันธุ์ของกล้วยตานีด่าง

การแยกหน่อ, การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยตานีด่างต้องการ

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ชอบดินเหนียวปนทราย

ประโยชน์ของกล้วยตานีด่าง

  • ใบของกล้วยตานีนั้นจะนิยมนำมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆเพราะใบกล้วยตานีนั้นมีใบที่ใหญ่และเหนียวไม่แตกง่าย
  • ส่วนปลีและหยวกกล้วยนั้น สามารถนำไปปรุงอาหารได้ เช่น นำไปใส่แกงหรือหมกใส่ไก่ได้ หรือจะ กินสดโดยใส่กับผัดไทยก็สามารถทำได้ ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมากสามารถนำมาตำทำเป็นตำกล้วยได้
  • ลำต้น หรือกาบตรงลำต้น สามารถนำมาทำเป็นเชือกใช้ทอผ้าได้
  • กล้วยตานีด่างปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกล้วยตานีด่าง

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยตานีด่าง

การแปรรูปของกล้วยตานีด่าง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.shopee.co.th

One Comment

Add a Comment