กล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่ พันธุ์กล้วยหายาก นิยมปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคใต้

กล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

ชื่ออื่นๆ : กล้วยทอง, กล้วยขี้แมวหาดใหญ่, กล้วยทองขี้แมว

ต้นกำเนิด : พบทางภาคใต้

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata ‘ Thong Khi Maew ’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

ต้น  ลำต้นสูง 3 – 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 – 10 เซนติเมตร กาบลำต้นมีสีเขียวอ่อน มีลายประดำทั้งต้น ลำต้นผอมเล็ก

ใบ  ก้านใบมีลักษณะเรียวเล็ก ร่องก้านใบเปิด

ดอก หรือปลีมีสีแดงอมม่วงเล็กน้อย ปลีมีขนาดเล็กยาว ประมาณ 15 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร และมักม้วนงอเมื่อแตกเป็นเครือและติดหวี

ผล  เครือหนึ่งมี 5–6  หวี หวีหนึ่งมี 10 – 15 ผล ผลมีขนาดเล็กยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร รูปทรงของผลจะเหมือนกับกล้วยไข่มาก แต่จะมีความยาวของผลมากกว่าอย่างชัดเจน เปลือกผลค่อนข้างบาง ผลดิบสีเขียว เมื่อผลแก่หรือสุกสีของเปลือกผลจะเป็นสีเหลืองเช่นกล้วยทั่วไปทุกอย่าง ผลแก่จัดจะไม่แตกอ้า เนื้อในสุกของ “กล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่” เป็นสีเหลืองอมส้มเล็กน้อย เนื้อแน่นและเหนียว รสชาติหวานจัดไม่มีรสเปรี้ยวเจือปน  

ต้นกล้วยขี้แมว
ต้นกล้วยขี้แมว กาบลำต้นมีสีเขียวอ่อน มีลายประดำทั้งต้น

 

กล้วยทองขี้แมว
กล้วยทองขี้แมว ผลมีขนาดเล็กยาว

การขยายพันธุ์ของกล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่ต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

  • รับประทานผลสุก

สรรพคุณทางยาของกล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

การแปรรูปของกล้วยทองขี้แมวหาดใหญ่

ผลสุกไปปอกเปลือกทำเป็นกล้วยตาก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : FB เกษตรบนแผ่นกระดาษ
ภาพประกอบ : สมพงศ์ฟาร์ม, www.thaibiodiversity.org

Add a Comment