กล้วยน้ำฝาด
ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำฝาด, กล้วยน้ำกาบดำ
ต้นกำเนิด : พบมากในจังหวัดพัทลุง
ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB Group) “Kluai Nam Phad”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยน้ำฝาด
ต้น ลำต้นเทียมสูงกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียม มีประดำเล็กน้อย มีไขปานกลาง ด้านในสีเขียวอ่อน
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีกสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ ปานกลาง ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว ปลีมีสีแดงอมม่วง ปลายใบประดับ ปลายแหลม ม้วนขึ้น
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 – 8 หวี หวีหนึ่งมี 14 – 16 ผล ผลขนาดไม่โต ยาวประมาณ 12 ซม. กว้างประมาณ 3 ซม. รูปร่างโคนใหญ่ ปลายผลเรียว มีจุก เปลือกหนา เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม รสฝาดเมื่อสุกแต่หวานมากเมื่อสุกงอม มีไส้แข็ง มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำฝาด
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำฝาดต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยน้ำฝาด
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำฝาด
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำฝาด
การแปรรูปของกล้วยน้ำฝาด
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, www.youtube.com
One Comment