กล้วยน้ำว้ากาบขาว
ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำว้านวลป่าโมก, กล้วยน้ำว้ามหาราช
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Kluai Namwa Kap Khao
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB) ‘Namwa Kap Khao’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยน้ำว้ากาบขาว
ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน มีปื้นเล็กน้อย ด้านในเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีค่อนข้างขาว
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก หรือปลี ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายป้านม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีแดงอมม่วง มีนวลสีขาว ด้านในสีแดงเข้ม
ผล เครือขนาดใหญ่และยาวมาก ในหนึ่งเครือจะมีหวีไม่น้อยกว่า 10-12 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดใหญ่มีเหลี่ยมเล็กน้อย ก้านผลสั้น เปลือกผลหนา ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อในสีขาว ไส้กลางสีเหลือง สีชมพูหรือสีขาว รสหวานหอม
การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำว้ากาบขาว
การแยกหน่อ
ในประเทศไทยพบปลูกมากในแหล่งปลูกกล้วยเพื่อการค้าสำคัญของประเทศ เช่น พิษณุโลก สุโขทัย นครสวรรค์ อยุธยา อ่างทอง ราชบุรี ปราจีนบุรี เป็นต้น
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำว้ากาบขาวต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยน้ำว้ากาบขาว
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำว้ากาบขาว
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้ากาบขาว
การแปรรูปของกล้วยน้ำว้ากาบขาว
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : FB ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์กล้วยสุพรรณบุรี , FB กล้วยน้ำว้ากาบขาว
One Comment