กล้วยน้ำหมาก พันธุ์กล้วย ผลสุกรสหวานคล้ายกล้วยหอมผสมกล้วยไข่

กล้วยน้ำหมาก

ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำหมาก

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata “Kluai Nam Mak”

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยน้ำหมาก

ต้น  ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวอมชมพูแดง มีประสีดำที่ลำต้นและคอใบ กาบด้านในสีเขียมอมเหลือง ลักษณะต้นอ่อน ลำต้นสีเขียวอมชมพู

ใบ  มีประที่ใบ ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว (ก้านใต้ใบอมชมพู) มีครีบ ก้านใบหนาสีแดง ลักษณะใบเรียวยาวชูตั้งขึ้น โคนใบเรียว ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปทรงกระบอก ใบรูปประดับรูปไข่ยาว ปลายใบประดับแหลม การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ด้านในโคนใบประดับสีเหลือง ด้านในสีซีด

ผล  ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ดอกมีก้านดอกสั้น ปลายผลมีจุกเล็กน้อยและเกสรไม่หลุด การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 6 หวี หวีหนึ่งมี 10-12 ผล ผลขนาดเล็กใกล้เคียงกับกล้วยเล็บมือนาง ผลดิบมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเนื้อสีเหลืองทอง รสชาติหวาน

ต้นกล้วยน้ำหมาก
ต้นกล้วยน้ำหมาก กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวอมชมพูแดง มีประสีดำที่ลำต้นและคอใบ

 

ปลีกล้วยน้ำหมาก
ปลีกล้วยน้ำหมาก ปลีรูปทรงกระบอก ปลายแหลม สีม่วงแดง

 

ผลกล้วยน้ำหมาก
ผลกล้วยน้ำหมาก ผลขนาดเล็กใกล้เคียงกับกล้วยเล็บมือนาง

การขยายพันธุ์ของกล้วยน้ำหมาก

การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

พบในภาคกลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยน้ำหมากต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยน้ำหมาก

สรรพคุณทางยาของกล้วยน้ำหมาก

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำหมาก

การแปรรูปของกล้วยน้ำหมาก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.thaibiodiversity.org, รวบรวมสายพันธุ์กล้วย, ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556

Add a Comment