กล้วยบัวสีชมพู ปลูกเป็นไม้ประดับสวน ผลมีเนื้อกินได้แต่ไม่นิยม

กล้วยบัวสีชมพู

ชื่ออื่นๆ : กล้วยบัวสีชมพู, กล้วยบัว

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย

ชื่อสามัญ : Flowering banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa ornata Roxb. 

ชื่อพ้อง : Musa mexicana Matuda, Musa speciosa Ten, Musa troglodytarum var. rubrifolia Kuntze

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยบัวสีชมพู

ต้น ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร การแตกหน่อใกล้ต้นแม่ สีของกาบลำต้นเทียมสีเขียวปนเหลือง  มีประดำน้อย มีไขบนลำต้นมาก บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู

ใบ เส้นกลางใบมีสีชมพู บริเวณโคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบตั้งขึ้น

ต้นกล้วยบัวสีชมพู
ต้นกล้วยบัวสีชมพู ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2 เมตร กาบลำต้นสีเขียวปนเหลือง

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกหรือก้านเครือเรียบเป็นมันไม่มีขน ช่อดอกหรือปลีชี้ตั้งขึ้น ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว มีปลายแหลม ด้านบนสีชมพูอมม่วงมีนวลเล็กน้อย สีด้านล่างชมพูอมมม่วง ใบประดับม้วนเล็กน้อย ดอกย่อยกลีบรวมสีส้มเข้ม โคนกลีบสีครีม กลีบรวมเดี่ยวบาง ปลายกลีบแต้มสีเหลืองอ่อน บริเวณตรงกลางสีครีมปนสีชมพู มีรอยหยักบริเวณปลายกลีบเล็กน้อย

ปลีกล้วยบ้วสีชมพู
ดอกหรือปลีกล้วยบ้วสีชมพู เป็นช่อตั้งขึ้น ปลายแหลม

ผล  ผลขนาดเล็ก มีสีเขียว เรียงชิดกันคล้ายนิ้วมือ ผิวเปลือกเรียบ ยาวประมาณ 4 ซม. มีเนื้อกินได้แต่ไม่นิยม เครือหนึ่งมีประมาณ 2 หวี แต่ถ้าปลูกในที่อากาศเย็น ผลจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและมี 7 – 8 หวีต่อเครือได้

ผลกล้วยบัวสีชมพู
ผลกล้วยบัวสีชมพู ผลสีเขียว เรียวชิดกันคล้ายนิ้วมือ

การขยายพันธุ์ของกล้วยบัวสีชมพู

การแยกหน่อ

การปลูก  ดินทุกชนิด ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยบัวสีชมพูต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยบัวสีชมพู

  • ใช้จัดสวน
  • ดอกใช้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกล้วยบัวสีชมพู

กาบหัวปลี,ผล,รากเหง้า เป็นยาแก้ท้องเสียในเด็ก

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยบัวสีชมพู

การแปรรูปของกล้วยบัวสีชมพู

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://adeq.or.th, https://botany.wu.ac.th

ภาพประกอบ : www.flickr.com, รวบรวมสายพันธุ์กล้วย

One Comment

Add a Comment