กล้วยบัวหลวง พันธุ์กล้วยลูกผสมระหว่าง กล้วยบัวชมพูและกล้วยบัวสีส้ม

กล้วยบัวหลวง

ชื่ออื่นๆ : กล้วยบัวหลวง, กล้วยบัว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Kluai Bua Luang

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa ornata x Musa laerita

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยบัวหลวง

ต้น  ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นเทียมน้อยกว่า 15 เซนติเมตร การแต่หน่อถี่ สีของกาบลำต้นเทียมมีสีเขียวปนเหลือง มีปะดำปานกลาง ไขบนลำต้นมาก บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู

ใบ ขอบก้านใบแผ่ออก เส้นกลางใบสีเขียว บริเวณโคนก้านใบมีปีก บริเวรฐานใบมนเท่ากัน

ต้นกล้วยบัวหลวง
ต้นกล้วยบัวหลวง กาบลำต้นเทียมมีสีเขียวปนเหลือง มีปะดำปานกลาง

ดอก  หรือปลี ก้านช่อดอกมีขนสีขาว ช่อดอกหนือปลีรูปหอกชี้ตั้งขึ้น โคนใบประดับด้านนนอกสีชมพูและปลายส้มอมเหลือง ปลายใบประดับมนเล็กน้อย ใบประดับไม่ม้วน ดอกย่อยมีปลายกลีบรวมใหญ่สีส้ม เข้ม โคนกลีบสีเหลืองส้ม กลีบรวมเดี่ยวบาง ปลายกลีบมีแต้มสีเหลืองส้ม รอยหยักบริเวณปลายกลีบเห็นชัดเจน

ผล  ผลขนาดเล็ก สีเขียว กว้าง 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร มีผลเรียงชั้นเดียว มี 4-6 ผลต่อหวี และ 4-5 หวีต่อเครือ

ปลีกล้วยบัวหลวง
ปลีกล้วยบัวหลวง ใบประดับด้านนนอกสีชมพูและปลายส้มอมเหลือง

การขยายพันธุ์ของกล้วยบัวหลวง

การแยกหน่อ

การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

เป็นลูกผสมระหว่าง กล้วยบัวชมพูและกล้วยบัวสีส้ม โดยนายสุทธิพันธุ์ บุญใจใหญ่ ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนพันธุ์

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยบัวหลวงต้องการ

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ดินเหนียวปนทราย

ประโยชน์ของกล้วยบัวหลวง

  • ใช้จัดสวน
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ 
  • ดอกใช้ประดับ

สรรพคุณทางยาของกล้วยบัวหลวง

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยบัวหลวง

การแปรรูปของกล้วยบัวหลวง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย, www.rpplant.royalparkrajapruek.org

Add a Comment