กล้วยศรีนรา
ชื่ออื่นๆ : ปิซังกะแต, ปิซังเวก, ปิซังโอนิก, กล้วยม่วง
ต้นกำเนิด : มาเลเซียตะวันตก
ชื่อสามัญ : ปิซังกะแต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa gracilis Holttum
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยศรีนรา
ต้น เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเทียมสูง 1-1.5 เมตร ขนาดผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 8 ซม. มีปื้นสีม่วงทั่วไป
ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้าง 5-20 ซม. ยาว 60-80 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบเป็นร่อง
ดอก หรือปลี ออกเป็นช่อตั้ง รูปกระสวย ยาวประมาณ 15 ซม. ก้านช่อยาว 10-15 ซม. ปลีมีใบประดับสีชมพูถึงม่วงแดงเข้ม เรียงซ้อนกันแน่น ส่วนปลายแหลมมีแต้มสีเขียว ใบประดับด้านนอก จะแผ่ บานออกและหลุดร่วงเมื่อผลเจริญขึ้น
ผล รวมเป็นหวี ผลเดี่ยวรูปแท่ง ขอบขนาน มีสันตามยาว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-5 ซม. ผลอ่อนมีขนกระจาย เมล็ดกลมหรือแบนรี
การขยายพันธุ์ของกล้วยศรีนรา
การแยกหน่อ
พบขึ้นกระจายบริเวณภาคใต้ ของประเทศไทยที่จังหวัดนราธิวาสและมาเลเซีย ออกดอกและ ติดผลช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยศรีนราต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยศรีนรา
- เป็นพืชที่หายาก มีช่อดอกที่สวยงาม
- นำมาปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
สรรพคุณทางยาของกล้วยศรีนรา
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยศรีนรา
การแปรรูปของกล้วยศรีนรา
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org, ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
กล้วยศรีนรา ไม้ล้มลุก เป็นพืชที่หายาก