กล้วยสาวกระทืบหอ
ชื่ออื่นๆ : กล้วยสาวกระทืบหอ
ต้นกำเนิด : นิยมปลูกทางภาคตะวันออก พบมากในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อสามัญ : เนื้อทอง (กําแพงเพชร)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa Xparadisiaca ‘Kluai Sao Kratueb Ho’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยสาวกระทืบหอ
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีกลีบสีเขียวอมชมพู มีประดำปานกลาง มีไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู
ใบ ก้านใบสีเขียว ไม่มีครีบ ก้านใบเปิดเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก หรือปลี ก้านดอกมีขนเล็กน้อย ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ด้านบนสีม่วงอมเทา ไม่มีนวล ด้านล่างสีแดง การเรียงของใบประดับไม่ซ้อนกันมาก
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดเล็กกว่ากล้วยไข่ แต่ยาวกว่า ผลสุกมีสีเหลืองอมม่วง รสชาติหวาน ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยสาวกระทืบหอ
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยสาวกระทืบหอต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยสาวกระทืบหอ
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้รสหวานหอม
“กล้วยสาวกระทืบหอ” มีเรื่องเล่าว่า “มีเจ้าบ่าวไปสู่ขอเจ้าสาว แล้วไม่มีอะไรไปเป็นสินสอด มีเพียงแต่กล้วยเท่านั้น เจ้าสาวเปิดขันหมากพบว่ามีแต่กล้วย จึงกระทืบหอ
สรรพคุณทางยาของกล้วยสาวกระทืบหอ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยสาวกระทืบหอ
การแปรรูปของกล้วยสาวกระทืบหอ
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย, เรื่องกล้วยๆ โดย ดลมนัส กาเจ
ภาพประกอบ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org