กล้วยหกหรือกล้วยอ่างขาง ผลเนื้อเหลืองและมีเมล็ดมาก

กล้วยหก

ชื่ออื่นๆ : กล้วยแดง (เหนือ), กล้วยป่า, กล้วยอ่างขาง, กล้วยไหล

ต้นกำเนิด : พบในป่าดิบแล้ง ขึ้นริมลำธาร ต่างประเทศพบในอินเดีย และพม่า ในไทย

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Musa itinerans Cheesman

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยหก

ต้น ไม้ล้มลุก แตกหน่อห่างๆ 1-2 เมตร ลำต้นเทียมสูง 6-8 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง ด้านในสีเหลืองอ่อน

ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลืองและมีจุดดำเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม ไม่มีนวล ด้านล่างสีขาวนวล เมื่อใบประดับร่วงไป แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึกและมีสันตื้น

ผล  เครือหนึ่งมี 5-7 หวี แต่ละหวีมี 9-13 ผล ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว ก้านผลยาวเกือบเท่าความยาวผล เนื้อเหลืองและมีเมล็ดมาก

ต้นกล้วยหก
ต้นกล้วยหก กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง ด้านในสีเหลืองอ่อน
ปลีกล้วยหก
ปลีกล้วยหก ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ปลายมน

การขยายพันธุ์ของกล้วยหก

การเพาะเมล็ด, การแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหกต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยหก

  • หัวปลี ทำมาทำอาหาร
  • ผลรับประทานได้
  • พันธุ์กล้วยหายาก
ผลกล้วยหก
ผลกล้วยหก ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว

สรรพคุณทางยาของกล้วยหก

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหก

การแปรรูปของกล้วยหก

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.biodiversity.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org

One Comment

Add a Comment