กล้วยหอมจันทน์
ชื่ออื่นๆ : กล้วยหอมจันทน์, กล้วยหอมจันทร์
ต้นกำเนิด : พบทางภาคเหนือ ในจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA Group) “Kluai Hom Jan”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยหอมจันทน์
ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กกลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวและมีสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก ก้านช่อดอกมีขน
ดอก หรือปลี ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบนสีแดงอมม่วง สีด้านล่างแดงซีด ปลายใบประดับปลายแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก ดอกมีก้านสั้น ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม เมื่อกาบปลีเปิด ม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด
ผล ผลขนาดเล็ก รูปร่างผลคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นและใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดของผล ก้านผลสั้น เปลือกหนากว่ากล้วยเล็บมือนาง เมื่อสุกมีสีเหลือง มีกลิ่นหอมเย็น รสหวาน ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยหอมจันทน์
การแยกหน่อ, การแยกเหง้า
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหอมจันทน์ต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยหอมจันทน์
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
- เนื้อผลเมื่อสุกงอมจะเหนียว ใช้ผสมเนื้อดินทำพระเครื่อง
สรรพคุณทางยาของกล้วยหอมจันทน์
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอมจันทน์
การแปรรูปของกล้วยหอมจันทน์
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ชุมชนคนรักษ์พรรณไม้
4 Comments