กล้วยหอมน้ำผึ้ง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยหอมน้ำผึ้ง, กล้วยน้ำผึ้ง
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Kluai Hom Thong Nam Phueng
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAA) ‘Hom Nam Phueng’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยหอมน้ำผึ้ง
ต้น มีลำต้นจริงที่เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน มีลำต้นเทียมที่อยู่เหนือดินสูงประมาณ 2.5-3.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียว และมีแถบประสีดำ ด้านในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู
ใบ ใบเดี่ยว เป็นแบบขนาน มีก้านใบที่มีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบมีสีเขียว ใบยาวได้มากถึง 3 ม.
ดอก หรือปลี แทงออกจากหยวกตรงกลางปลายยอด เมื่อแทงออกช่วงแรกจะตั้งตรง และค่อยๆโค้งงอลงด้านล่าง ก้านเครือมีขนอ่อนปกคลุม ปลีมีรูปไข่ ค่อนข้างแหลมยาว และมีปลายแหลม มีกาบหุ้มด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด ปลีกล้วยหอมทองมีความยาวประมาณ 1.0-1.5 ม.
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 6-10 หวี แต่ละหวีมี 10-16 ผล หรือมากกว่าหากดินมีความสมบูรณ์ ผลกว้าง 3-4 ซม. และยาว 21-25 ซม. ปลายผลมีจุก เปลือกบางแต่หนากว่ากล้วยไข่ ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รสชาติหวาน เนื้อจะละเอียด เนื้อนุ่ม
การขยายพันธุ์ของกล้วยหอมน้ำผึ้ง
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหอมน้ำผึ้งต้องการ
การปลูกกลางแจ้ง,ร่มรำไร
ประโยชน์ของกล้วยหอมน้ำผึ้ง
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้
- ใบตองนำมาห่อขนมของหวานหรือใช้ห่ออาหารทำห่อหมก
- หยวกกล้วยจากต้นกล้วยอ่อนนำมาประกอบอาหาร รวมไปถึงปลีกล้วยหลังการตัดปลีที่ใช้ทำอาหารได้หลายเมนู และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ส่วนหนึ่งได้
- ก้าน และใบ จากการตัดแต่งใบนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โค กระบือ
- หน่อ และลำต้น หลังเก็บเกี่ยวหรือการตัดทิ้งนำมาเลี้ยงหมู
- เปลือกกล้วยหรือผลกล้วยเน่า รวมถึงลำต้น ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
- กาบลำต้น ฉีกเป็นเส้นๆ ใช้สำหรับรัดสิ่งของแทนเชือก
สรรพคุณทางยาของกล้วยหอมน้ำผึ้ง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหอมน้ำผึ้ง
การแปรรูปของกล้วยหอมน้ำผึ้ง
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : ร้านสวนลุงทด (นานาการ์เด้นท์)