กล้วยหักมุกส้ม
ชื่ออื่นๆ : กล้วยหักมุกส้ม
ต้นกำเนิด : ภาคกลาง พบมากในจังหวัดนนทบุรี
ชื่อสามัญ : Kluai Hak Muk Som
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB) “Kluai Hak Muk Som”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยหักมุกส้ม
ต้น ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง มีประดำที่คอใบเล็กน้อย มีนวลมากทั้งลำต้น กาบด้านในสีเขียวอ่อน ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียว ไม่มีประที่ลำต้น
ใบ ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบน้ำตาล ลักษณะใบกว้างโค้งลง โคนใบมน ม้วนงอขึ้น
ดอก หรือปลี การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันชัดเจน ใบประดับด้านนอกสีน้ำตาลอมแดง มีไขเยอะ ใบประดับด้านในสีแดงสม่ำเสมอ ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ดอกมีก้านดอกยาว
ผล ขนาดผลสั้นป้อมเป็นเหลี่ยม ปลายผลไม่มีจุก การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 6 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 16-18 ผล ผิวผลดิบมีสีเขียวเข้ม ผิวผลสุกสีเหลืองทอง เมื่อสุกเนื้อผลสีขาวอมส้ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด
การขยายพันธุ์ของกล้วยหักมุกส้ม
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
พบในภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยหักมุกส้มต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยหักมุกส้ม
- รับประทานผลสด ย่าง และนำมาทำกล้วยทอดกรอบ
สรรพคุณทางยาของกล้วยหักมุกส้ม
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยหักมุกส้ม
การแปรรูปของกล้วยหักมุกส้ม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : รวบรวมสายพันธุ์กล้วย