กล้วยเทพรส ผลสุกงอมมีรสหวาน พบได้ทุกภาคในไทย

กล้วยเทพรส

ชื่ออื่นๆ : กล้วยทิพรส, กล้วยสิ้นปลี, กล้วยปลีหาย, กล้วยสังกิโว, กล้วยช้าง

ต้นกำเนิด : พบได้ทุกภาคของประเทศไทย

ชื่อสามัญ : Kluai Theppharot

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABBB) ‘Theppharot’

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยเทพรส

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้น มีปื้นดำปานกลาง ตรงโคนมีสีชมพู ด้านในสีเขียวอ่อน

ใบ โคนก้านใบสีเขียวอมชมพู มีร่องแคบ ไม่มีครีบ ก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกสีเขียว ไม่มีขน

ดอก ใบประดับรูปร่างค่อนข้างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวลมาก ด้านล่างสีซีด ใบประดับเรียงซ้อนกันลึก ช่อดอกมีแต่ดอกตัวเมียไม่มีดอกตัวผู้จึงไม่เห็นปลี เมื่อติดผล ปลีหลุดหายไป จึงเรียกว่า กล้วยปลีหาย

ผล  เครือหนึ่งมี 5 – 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 11 ผล ผลใหญ่คล้ายกล้วยหักมุก กว้าง 6 – 7 เซนติเมตร ยาว 18 – 20 เซนติเมตร ก้านผลยาว ให้ผลผลิตตลอดปี

ต้นกล้วยเทพรส
ต้นกล้วยเทพรส ลำต้นสูง กาบลำต้น มีปื้นดำปานกลาง ตรงโคนมีสีชมพู

การขยายพันธุ์ของกล้วยเทพรส

การแยกหน่อ

พบได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่ไม่นิยมปลูกมากนัก มียีโนม ABBB สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการผสมกันในธรรมชาติระหว่างกล้วยหักมุกและกล้วยตานี

การปลูกเลี้ยง    ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยเทพรสต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยเทพรส

  • เนื้อของกล้วยในกลุ่มนี้จะมีแป้งมาก โดยเฉพาะผลดิบ ผลที่สุกบางชนิดรับประทานสดได้ แต่บางชนิดอาจจะฝาด จึงนิยมนำมาทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน จะทำให้รสอร่อยขึ้น
  • นิยมปลูกเป็นไม้บังลม
  • ใบตองใช้ห่อของ
  • กล้วยดิบนำมาทอดกรอบให้รสชาติอร่อย
  • ผลสุกงอมจะมี รสหวาน
กล้วยเทพรส
กล้วยเทพรส ผลมีขนาดใหญ่ ก้านผลยาว

สรรพคุณทางยาของกล้วยเทพรส

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยเทพรส

การแปรรูปของกล้วยเทพรส

นำไปแปรรูปเป็นเมนูกล้วยอบน้ำผึ้งทอด, ข้าวเม่าทอด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
www.pplant.royalparkrajapruek.org
www.scitech.kpru.ac.th
www.qsbg.org

2 Comments

Add a Comment