กล้วยเล็บช้างกุด พันธุ์กล้วย ผลป้อมคล้ายกล้วยตานี ผลสุกรสหวาน เนื้อมีแป้งมาก

กล้วยเล็บช้างกุด

ชื่ออื่นๆ : กล้วยเล็บช้างกุด, กล้วยโก๊ะ, อีเต่า

ต้นกำเนิด : พบทางภาคใต้

ชื่อสามัญ : Banana, Cultivated banana

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (BBB group) “Kluai Lep Chang kut”

ชื่อวงศ์ : MUSACEAE

ลักษณะของกล้วยเล็บช้างกุด

ต้น  ลำต้นสูง 3.5 – 4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 – 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวมีนวลไม่มีปื้นดำ ด้านในมีสีเขียว

ใบ ก้านใบมีสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีค่อนข้างป้อมมีความกว้างมาก ปลายมน ด้านนอกมีสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านในมีสีแดงสดใส เมื่อกาบปลีกางออกจะตั้งฉากกับช่อดอก ไม้ม้วนงอขึ้น กาบปลีแต่ละใบจะซ้อนกันลึก

ผล  เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 14 – 18 ผล ลักษณะผลป้อมคล้ายกล้วยตานี ปลายผลมน ก้านผลยาว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง รสหวาน เนื้อมีแป้งมาก บางผลมีเมล็ด ถ้าต้มแล้วเนื้อจะแน่นเหนียว

ต้นกล้วยเล็บช้างกุด
ต้นกล้วยเล็บช้างกุด ลำต้นสูง 3.5 – 4 เมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวมีนวลไม่มีปื้นดำ

 

ใบกล้วยเล็บช้างกุด
ใบกล้วยเล็บช้างกุด ก้านใบมีสีเขียว

การขยายพันธุ์ของกล้วยเล็บช้างกุด

การแยกหน่อ

การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยเล็บช้างกุดต้องการ

ประโยชน์ของกล้วยเล็บช้างกุด

  • ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้
  • ผลใช้แปรรูปเป็นขนมหวาน
ผลกล้วยเล็บช้างกุด
ผลกล้วยเล็บช้างกุด ผลป้อมคล้ายกล้วยตานี ปลายผลมน ก้านผลยาว

สรรพคุณทางยาของกล้วยเล็บช้างกุด

สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยเล็บช้างกุด

การแปรรูปของกล้วยเล็บช้างกุด

ผลห่ามนำมาปิ้ง ย่าง ต้ม ทำกล้วยบวชชี ขนมกล้วย ข้าวต้มมัดเป็นต้น

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : 
Phangan Heritage Garden
www.rpplant.royalparkrajapruek.org

2 Comments

Add a Comment