กล้วยไข่ดำ
ชื่ออื่นๆ : ตะกุ่ยซอซู ตะกุ่ยยะไชแซะ (กะเหรี่ยง)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งที่พบ จังหวัดกาญจนบุรี และชายแดนพม่า
ชื่อสามัญ : Kluai Dam
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa acuminata ‘Kluai Khai Dam’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยไข่ดำ
ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมประมาณ 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำลำต้นและคอใบ มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอมชมพู ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียว โคนก้านใบสีชมพู มีนวล
ใบ ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบแดง ลักษณะใบกว้างโค้งลง โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน
ดอก หรือปลีก้านช่อดอก มีขน ลักษณะทรงเครือขนานกับพื้นดิน ปลายก้านช่อดอกโค้งลง ลักษณะของใบประดับสั้น ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ด้านในโคนใบประดับสีเหลือง ด้านในปลายใบประดับสีแดงส้ม ดอกมีก้านดอกสั้น
ผล ขนาดผลเรียวสั้นกลม ปลายผลมีจุกยาวชัดเจนและเกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 9 – 10 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 18 – 20 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเนื้อผลสีเหลือง
การขยายพันธุ์ของกล้วยไข่ดำ
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไข่ดำต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยไข่ดำ
- ผลสุกรับประทาน
- ใบตองนำมาห่อขนมของหวานหรือใช้ห่ออาหารทำห่อหมก
- หยวกกล้วยจากต้นกล้วยอ่อนนำมาประกอบอาหาร
- ปลีกล้วยหลังการตัดปลีที่ใช้ทำอาหารได้หลายเมนู และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ส่วนหนึ่งได้
- ก้านและใบ จากการตัดแต่งใบนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โค กระบือ
- หน่อ และลำต้น หลังเก็บเกี่ยวหรือการตัดทิ้งนำมาเลี้ยงหมู
- เปลือกกล้วยหรือผลกล้วยเน่า รวมถึงลำต้น ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
- กาบลำต้น ฉีกเป็นเส้นๆ ใช้สำหรับรัดสิ่งของแทนเชือก
สรรพคุณทางยาของกล้วยไข่ดำ
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่ดำ
การแปรรูปของกล้วยไข่ดำ
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rprp.hwt.co.th
ภาพประกอบ : สวนลุงทด, ท่องโลกกล้วย