กล้วยไข่ ผลไม้เครือ ผลไม้เขตร้อน นิยมรับประทานสด และแปรรูป

กล้วยไข่ ผลไม้เครือ ผลไม้เขตร้อน นิยมรับประทานสด และแปรรูป

ชื่ออื่นๆ : ไข่กำแพงเพชร, กระ

ต้นกำเนิด  :  เอเชียใต้

ชื่อสามัญ  :  Pisang Mas

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Musa acuminata ‘Lady Finger’

ชื่อวงศ์  : Pisang Mas

ชื่อภาษาอังกฤษ : Golden Banana

กล้วยไข่ ผลไม้เครือ ผลไม้เขตร้อน นิยมรับประทานสด และแปรรูป
เครือกล้วยไข่

ลักษณะของกล้วยไข่

ต้น ลำต้นสูง 2. 5 – 3 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 16 – 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประสีน้ำตาลอ่อน ด้านในสีชมพูอมแดง

ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านมีครีบสีชมพู

ดอก ก้านช่อดอก มีขนอ่อน ปลีรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในที่โคนกลีบสีซีด

ผล เครือหนึ่งมี 6 – 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก ก้านผลสั้น เปลือกผลบางเมื่อสุก มีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีม อมส้ม รสหวาน ออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคม

การขยายพันธุ์ของกล้วยไข่

  • กล้วยไข่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด
  • กล้วยไข่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้หน่อ
  • กล้วยไข่สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture)
  • การเตรียมดิน:
    – วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดิน และความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
    – ไถพรวน ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อลดการระบาดของศัตรูพืช
    – คราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงฤดูปลูก:
    – ช่วงเวลาการปลูก ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนวิธีการปลูก:
    – ปลูกด้วยหน่อใบแคบที่มีความสมบูรณ์ดี
    – เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร
    – รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกอัตรา 5 กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับหน้าดินรองก้นหลุมปลูกถ้ามีการไว้หน่อ (ratoon) เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไปอีก 1-2 รุ่น ควรรองก้นหลุมด้วย หินฟอสเฟต อัตรา 100-200 กรัม/หลุม
    – ระยะปลูก (1.5-1.75) x2 เมตร เป็นการปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียงครั้งเดียว แล้วรื้อปลูกใหม่ 2×2 เมตรเป็นการปลูกสำหรับไว้ตอหรือหน่อ (ratoon) เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตของหน่อ (ratoon) อีก 1-2 รุ่น
    – การปลูก วางหน่อพันธุ์ที่หลุมปลูกให้ลึก 25-30 เซนติเมตร โดยจัดวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไข่ต้องการ

สภาพพื้นที่:
– พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ราบ ไม่มีน้ำท่วมขัง
– ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร
– มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรืออยู่ในเขตชลประทาน
– การคมนาคมสะดวก

ลักษณะดิน:
– ดินร่วน, ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย
– มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี
– ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร
– ค่าความเป็นกรดด่างของดินระหว่าง 5.0-7.0

สภาพภูมิอากาศ:
– อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ระหว่าง 25-35 องศาเซนเซียส
– ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
– ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจำ
– มีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ:
– มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก
– เป็นแหล่งน้ำสะอาด ค่าความเป็นกรดด่างของน้ำระหว่าง 5.0-9.0

ประโยชน์ของกล้วยไข่

  • ผลใช้รับประทานสด และแปรรูป
  • ผลดิบทำกล้วยฉาบ ทำแป้งกล้วยสำหรับทำขนมไทย
  • ผลห่ามทำกล้วยบวชชี เชื่อม
  • ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ เปลือกผลค่อนข้างบาง เนื้อผลสีเหลืองไพล เนื้อละเอียดนุ่ม รสหวาน กินกับกระยาสารท โดยเฉพาะเหมาะที่จะทำข้าวเม่าทอดมากที่สุด

สรรพคุณทางยาของกล้วยไข่

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่

  • กล้วยไข่มีคุณค่าทางโภชนาการต่อปริมาณ   100 กรัม
  • กล้วยไข่ให้พลังงานถึง   140 กิโลแคลอรี่
  • กล้วยไข่ให้น้ำ   62.8 กรัม
  • กล้วยไข่ให้โปรตีน   1.5 กรัม
  • กล้วยไข่ให้ไขมัน   0.2 กรัม
  • กล้วยไข่ให้คาร์โบไฮเดรต   32.9 กรัม
  • กล้วยไข่ให้กากอาหาร   0.4 กรัม
  • กล้วยไข่ให้ใยอาหาร   1.9 กรัม
  • กล้วยไข่ให้เถ้า   0.7 กรัม
  • กล้วยไข่ให้แคลเซียม   4 มิลลิกรัม
  • กล้วยไข่ให้ฟอสฟอรัส   23 มิลลิกรัม
  • กล้วยไข่ให้เหล็ก   1.0 มิลลิกรัม
  • กล้วยไข่ให้เบต้า-แคโรทีน (โปร-วิตะมินเอ)   792 ไมโรกรัม
  • กล้วยไข่ให้ไทอะมีน (วิตะมินบี 1)   0.03 มิลลิกรัม
  • กล้วยไข่ให้ไรโบฟลาวิน (วิตะมิน 2)   0.05 มิลลิกรัม
  • กล้วยไข่ให้ไนอะซีน   1.4 มิลลิกรัม
  • กล้วยไข่ให้วิตะมินซี   2 มิลลิกรัม

การแปรรูปของกล้วยไข่

  • ผลดิบทำกล้วยฉาบ
  • ผลดิลทำแป้งกล้วยสำหรับทำขนมไทย
  • ผลห่ามทำกล้วยบวชชี เชื่อม

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับกล้วยไข่

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.sc.mahidol.ac.th

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment