กอมก้อยลอดขอน
ชื่ออื่นๆ : ผักหวานนก, ก่อมน้อย , ใต้ใบ, ระงับมนุษย์, กองกอยลอดขอน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กองกอยลอดขอน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sauropus hirsutus Beille
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของกอมก้อยลอดขอน
ต้น เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ต้นเลื้อยแผ่ตามดิน ลำต้นสลับเป็นฟันปลา
ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลม โคนเว้า ขนาด 2.0-3.5 ซม. ก้านใบยาวไม่เกิน 3 มม. เส้นใบเรียงแบบนิ้วมือ จำนวน 5-7 เส้น ผิวใบด้านบนมันเกลี้ยงด้านล่างมีขนปกคลุม ขอบใบมีขนแข็งและเป็นคลื่นเล็กน้อย
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 1-1.5 ซม. ดอกรูปรียาว กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ลักษณะค่อนข้างกลม กว้าง 3-6 ซม. ยาว 4-8 มม. ส่วนปลายมีลักษณะเป็นรยางค์ยาวยื่นออกไป กว้าง 1.5-2 มม. ยาว 2-3 มม.
ผล เป็นผลแห้ง แก่แล้วแตก รูปรีแกมกว้าง มีสันชัดเจน ขนาดกว้าง 1.2-1.5 ซม. ยาว 1.5 ซม. ก้านผลยาว 1-1.5 ซม. เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ไม่มีปีก
การขยายพันธุ์ของกอมก้อยลอดขอน
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-
ธาตุอาหารหลักที่กอมก้อยลอดขอนต้องการ
ประโยชน์ของกอมก้อยลอดขอน
–
สรรพคุณทางยาของกอมก้อยลอดขอน
ทั้งต้น ต้มดื่มแก้เบาหวาน
ราก มีกลิ่นเฉพาะตัวนำมาใช้อมแก้เจ็บคอได้ เป็นยาบำรุงร่างกายแก้อ่อนเพลีย โดยนำรากกอมกอยลอดขอน รากตานกกด รากสามสิบ ต้มกินต่างน้ำได้ เป็นยาบำรุงของหลวงปู่มั่นตอนขึ้นเขา ใช้รากกองกอยลอดขอน หัวฆ้อน กระแต ฮากเครือหมาน้อย หญ้าใต้ใบทั้งห้า หญ้าดอกขาวทั้งห้า นำมาต้มกิน
คุณค่าทางโภชนาการของกอมก้อยลอดขอน
การแปรรูปของกอมก้อยลอดขอน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9887&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th