กะหล่ำปลีรูปหัวใจ มีใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินซี ใบหนา กรอบ

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ชื่ออื่นๆ : กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ต้นกำเนิด : เมดิเตอร์เรเนียนของทวีปยุโรป

ชื่อสามัญ : กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleraceae var. capitata

ชื่อวงศ์ : Brassicaceae (Cruciferae)

ลักษณะของกะหล่ำปลีรูปหัวใจ

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชข้ามฤดู แต่นิยมปลูกฤดูเดียว มีถิ่นกำเนิด แถบเมดิเตอร์เรเนียน ของทวีปยุโรป จนถึงประเทศอังกฤษ ลักษณะลำต้นที่เรียกว่า Core มีขนาดสั้นมาก ใบเดี่ยวเรียงตัวห่อ ซ้อนๆ กันหลายชั้น เกาะกันแน่น เป็นรูปโคนคว่ำ หรือหัวใจ ความแน่นของหัวขึ้นอยู่ กับการจัดเรียงตัวของใบ ใบหนา กรอบ ใบนอกมีสีเขียว ส่วนใบด้านในมีสีเขียวอ่อนกว่าหรือขาว ให้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว

ต้นกะหล่ำปลีรูปหัวใจ
ต้นกะหล่ำปลีรูปหัวใจ ใบเดี่ยวเรียงตัวห่อ ซ้อนกันหลายชั้น

การขยายพันธุ์ของกะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ใช้เมล็ด

การเตรียมกล้า ควรเพาะกล้าในถาดหลุม หรือหยอดเมล็ดโดยตรง อายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน หากย้ายกล้าช้า จะมีผลต่อการเข้าปลี

การเตรียมดิน ควรไถดินให้ลึกประมาณ 10-15 ซม. ตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด
การปลูก ขึ้นแปลงกว้าง 1-1.2 ม. สำหรับฤดูฝนควรยกแปลง ให้สูงกว่าปกติ 30-50 ซม. เพื่อการระบายน้ำ ควรรองพื้นก่อนปลูก ด้วยปุ๋ 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตรา 2-4 ตัน/ไร่ (2 กก./ตร.ม.) ระยะปลูก 40×40 ซม.

ข้อควรระวัง
หากปลูกในฤดูร้อน ควรให้น้ำสม่ำเสมอ หากขาดน้ำ จะเข้าปลีหลวม การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ตลอดฤดูกาลปลูก ถ้าขาดน้ำ จะทำให้พืช ชักงักการเจริญเติบโต และมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพผลผลิต
การให้ปุ๋ย ประมาณ 5-7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้า ที่ตาย หลังย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 46-0-0 อัตรา 20-25 กรัม/ตร.ม. หลังจากนั้น 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 ช่วงการเข้าปลี ใช้ปุ๋ย 13-13-21

ข้อควรระวัง
ควรหลีกเลี่ยง พื้นที่มีฝนตกชุก เนื่องจากจะทำให้ปลีเน่าได้ ช่วงฤดูฝนต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีแมลงศัตรูพืช เข้าทำลายมาก การเก็บเกี่ยว เลือกลักษณะหัวแน่นพอดี ไม่มีตำหนิ มีใบนอก 2-3 ใบ สด สะอาด ทาด้วยปูนแดง ที่รอยแผลตัด แล้วผึ่งให้แห้ง

การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

ช่วงเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 60 – 70 วัน หลังย้ายกล้าปลูก ห่อหัวแน่นพอดี เก็บเกี่ยวเมื่ออายุและขนาดเหมาะสม ควรมีใบห่อหุ้มไม่เกิน 3 ใบ คัดเลือกหัวที่มีตำหนิทิ้ง ทาด้วยปูนแดงที่รอยตัดและผึ่งให้แห้ง บรรจุในตะกร้าพลาสติกโดยมีกระดาษกรุรองทั้งตระกร้า

ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ คุณภาพขั้นต่ำ เป็นกะหล่ำปลีรูปหัวใจทั้งหัว เข้าหัวแน่น ไม่มีตำหนิต่างๆ สด สะอาด แก่พอดี ไม่แทงช่อดอก มีใบนอก 2 – 3 ใบ ปลอดภัยจากสารเคมี

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชเขตหนาว เจริญได้ดีใสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง 15-20′C หรือเฉลี่ยไม่เกิน 24′C หากปลูกในสภาพ อุณหภูมิต่ำกว่า 10′C หรือสูงกว่า 30′C พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ ให้ทนต่ออุณหภูมิสูง
ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรโปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำ อากาศดี และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ในช่วง 6.0-6.5 ควรให้อย่างพอเพียง เนื่องจากกะหล่ำปลี เป็นพืชที่ต้องการความชื้น ในดินมาก หากความชื้นในดินต่ำ จะทำให้ผลผลิต ลดลงกว่าปกติ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ระยะที่กะหล่ำปลี ต้องการน้ำมากที่สุด ได้แก่ ระยะเริ่มห่อปลี และระยะการเจริญ เติบโตที่

ธาตุอาหารหลักที่กะหล่ำปลีรูปหัวใจต้องการ

ประโยชน์ของกะหล่ำปลีรูปหัวใจ

  • กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชที่มีเยื่อใยสูง อุดมไปด้วยวิตามินซี ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกัน โรคเลือดออก ตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้น การทำงาน ของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อมะเร็ง เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็น มะเร็งลำไส้ มะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคอเลสเตอรอล และช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับได้ดี ข้อพึงระวัง กะหล่ำปลีมีสาร ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมาก จะไปขัดขวาง การทำงานของต่อมไทรอยต์ ทำให้นำไอโอดีน ในเลือดไปใช้ ได้น้อย ดังนั้น ไม่ควรกินกะหล่ำปลีสดๆ วันละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป
  • นิยมรับประทานสด กินกับลาบ ส้มตำ อาหารประเภทยำ ใส่ในสลัด นำมาผัด หรือต้ม เป็นแกงจืด  แต่งจานอาหาร
ผลกะหล่ำปลีรูปหัวใจ
ผลกะหล่ำปลีรูปหัวใจ ใบเกาะรวมกันเป็นรูปโคนคว่ำ หรือหัวใจ

สรรพคุณทางยาของกะหล่ำปลีรูปหัวใจ

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีรูปหัวใจ

การแปรรูปของกะหล่ำปลีรูปหัวใจ

การแปรรูปเป็นกะหล่ำปลีดอง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12071&SystemType=BEDO
https://hkm1.hrdi.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment