กัลปพฤกษ์ พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดขอนแก่นและเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี

กัลปพฤกษ์

ชื่ออื่นๆ :  ชัยพฤกษ์ (ภาคเหนือ) กานล์ (เขมร-สุรินทร์) เปลือกขม (ปราจีนบุรี) กาลพฤกษ์

ต้นกำเนิด : ประเทศอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ :  Pink Shower,  Wishing tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia bakeriana Craib

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะของกัลปพฤกษ์

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ความสูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ

ใบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่ออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆ  ใบบางเรียบปลายใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่งก้านมีกลิ่นหอมมีสีชมพูแกมขาวดอกบานจะมีความกว้างประมาณ 23 เซนติเมตรมีกลีบดอก 5 กลีบตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลือง

ผล ผลเป็นฝักกลม ยาว มีสีดำ เมื่อแก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะมีเมล็ดเรียงอยู่ภายใน ฝักหนึ่งยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร มีลักษณะใบ เป็นพุ่มใบแบนกว้าง

ต้นกัลปพฤษ์
ต้นกัลปพฤษ์ เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อย
ใบกัลปพฤษ์
ใบกัลปพฤษ์ ใบออกเรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่

การขยายพันธุ์ของกัลปพฤกษ์

การเพาะเมล็ด, การตอน วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด

พบได้มากทางภาคอีสานและภาคเหนือ

ธาตุอาหารหลักที่กัลปพฤกษ์ต้องการ

ปลูกให้ห่างบริเวณบ้านพอสมควรเพราะเป็นไม้ที่มีการแตกกิ่งก้าน สาขากว้างใหญ่ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดินปลูก

ประโยชน์ของกัลปพฤกษ์

  • เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดขอนแก่น โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
  • เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดําเนิน ประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และได้ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ พระราชทานไว้ให้แก่มหาวิทยาลัย
  • ปลูกไว้ประดับอาคารบ้านเรือน ปลูกในสวนสาธารณะ และริมถนนทั่วไป และสามารถทนดินเลวและอากาศแห้งได้เป็นอย่างดี
  • สำหรับความเชื่อของคนไทยในอดีตเชื่อกันว่า ต้นกัลปพฤกษ์มีอยู่ในแดนสวรรค์ เปรียบเหมือนแก้วสารพัดนึก หากปรารถนาสิ่งใด จะไปขอเอาจากต้นไม้นี้ อีกทั้งต้นกัลปพฤกษ์ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ มีโชคมีชัย โดยเชื่อกันว่าหากบ้านใดปลูกต้นกัลปพฤกษ์ไว้เป็นไม้ประจำบ้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นสิริมงคล ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต พบแต่ความสุขสมหวังทุกประการ หากผู้ปลูกเป็นผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
  • คนไทยสมัยก่อนถือว่า กิ่งก้านจากต้นกาลพฤกษ์เป็นไม้มงคล เหมาะสำหรับการนำไปทำด้ามธง ถือว่าทำให้เกิดสิริมงคลดีนัก
  • เนื้อไม้มีความละเอียดและให้น้ำฝาด ที่สามารถนำมาไปใช้ฟอกหนังได้
ดอกกัลปพฤษ์
ดอกกัลปพฤษ์ ดอกสีชมพูแกมขาว มีกลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของกัลปพฤกษ์

  • เปลือก แก้อาเจียน ถ่ายพิษไข้เนื้อฝักยาระบายอ่อน ๆ
  • เมล็ดทำให้อาเจียนถ่ายพิษไข้
  • ฝัก ให้เปป็นยาระบายอย่างอ่อน
  • เปลือก ฝักและเมล็ด ทำให้อาเจียน ลดไข้
  • ภูมิปัญญาไทย เปลือก แก้อาเจียนเนื้อฝัก ยาระบาย แก้ไข้

คุณค่าทางโภชนาการของกัลปพฤกษ์

การแปรรูปของกัลปพฤกษ์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11369&SystemType=BEDO
www.plant.forest.go.th
www.wattano.ac.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment