เทพทาโร เนื้อไม้สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการบูร

เทพทาโร

ชื่ออื่นๆ : จวง, จวงหอม (ภาคใต้) จะไคต้น, จะไคหอม (ภาคเหนือ) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี) การบูร (หนองคาย) พลูต้นขาว (เชียงใหม่) เทพทาโร (ภาคกลาง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี)

ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน พบได้ป่าดงดิบทั่วไป แต่จะพบมากที่สุดทางภาคใต้

ชื่อสามัญ :  Citronella laurel, True laurel

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum porrectum (Roxb.) Kosterm.

ชื่อวงศ์ : Lauraceae

ลักษณะของเทพทาโร

ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 – 30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว เปลือกสีเทาอมเขียวหรือสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ยาว 7 – 20 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ  ก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร

ดอก ดอกสีขาว เหลืองอ่อน ออกเป็นช่อประจุกตามปลายกิ่ง

ผล ผลกลมเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.7 เซนติเมตร สีเขียว

ต้นเทพทาโร
ต้นเทพทาโร เรือนยอดเป็นพุ่ม ทึบ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมักจะมีคราบขาว

การขยายพันธุ์ของเทพทาโร

การเพาะเมล็ดและการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่เทพทาโรต้องการ

เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ประโยชน์ของเทพทาโร

  • เนื้อไม้สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการบูร อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกมาจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมี
    ให้เป็นการบูรได้
  • ใบมีกลิ่นหอมเป็นเครื่องเทศ ใช้ใบนี้เป็นใบกระวานสำหรับใส่เครื่องแกงมัสหมั่นได้
    (ใบกระวานลักษณะเหมือนใบข่า)
  • ไม้ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ทำตู้ และหีบใส่เสื้อผ้า
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ใบเทพทาโร
ใบเทพทาโร ใบมีสีเขียวเข้ม แผ่นใบรูปรี
ดอกเทพทาโร
ดอกเทพทาโร ดอกสีขาว เหลืองอ่อน

สรรพคุณทางยาของเทพทาโร

  • ใบ  รสร้อน ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหารให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ขับเสมหะ
  • เปลือก   รสร้อน มีน้ำมันระเหย 1-25 % และแทนนิน แก้ลมจุกเสียด แน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร บำรุงธาตุ
  • เมล็ด จะให้น้ำมัน ใช้เป็นยาทาถูนวด แก้ปวด

คุณค่าทางโภชนาการของเทพทาโร

การแปรรูปของเทพทาโร

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11188&SystemType=BEDO
www.forest.go.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment