การปลูกกล้วยเล็บมือนางให้ได้ผลดี สายพันธุ์ของกล้วย

กล้วยเล็บมือนาง

กล้วยเล็บมือนาง ชื่อเรียกอื่น กล้วยข้าว, กล้วยเล็บมือ, กล้วยดอกทองหมาก, กล้วยหมาก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Musa sapientum Linn  มีลำต้นค่อนข้างเล็ก แต่เพรียวสูง เหมือนกล้วยไข่ กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านในสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาว ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เครือผลเล็ก และมีขนสีน้ำตาลปกคลุมตามก้านเครือและก้านหวี ผลจะเรียวเล็กคล้ายนิ้วมือสุภาพสตรี เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น รสหวานหอมคล้ายกล้วยหอม วันนี้เกษตรตำบลมีวิธีการปลูกกล้วยเล็บมือนาง การดูแลกล้วยหลังการปลูกมาฝากกันค่ะ

กล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนาง ผลเล็ก รูปโค้งงอปลายเรียวยาว

สายพันธุ์กล้วยเล็บมือนาง

  1. กล้วยเล็บมือ “พันธุ์กาบดำ”
    -เครือยาว ลูกดก
    -ลูกเล็ก ผลยาว
    -รสชาติหวานหอม อร่อย
  2. กล้วยเล็บมือ “พันธุ์กาบแดง”
    -ลูกใหญ่ สั้น เครือสั้น
    -ลูกไม่ดก จำนวนหวีมีน้อย
    -ชาวสวนไม่ค่อยนิยมปลูกเพราะผลผลิตน้อย
กล้วยเล็บมือนาง
กล้วยเล็บมือนาง ผลเล็ก รูปโค้งงอปลายเรียวยาว

การปลูกกล้วยเล็บมือนาง

ระยะปลูก โดยประมาณ 30 x 30 x 50 เซนติเมตร

การเตรียมหลุม ขุดหลุมขนาดกว้าง ยาว ลึก ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากคุณภาพของดิน รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ประมาณ 2-3 กิโลกรัม หรืออาจจะมีการรองก้นหลุม เพิ่มเติมด้วยฟอสเฟตขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน แล้วกลบด้วยหน้าดิน

การปลูก การนำหน่อกล้วยควรคัดเลือกหน่อรุ่นเดียวกันที่สมบูรณ์ไม่มีโรคแมลงรบกวน หน่อปลูกขนาดความสูง ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร คัดหน่ออย่าให้ช้ำ ใบเล็กคลี่ ปลูกโดยเว้นระยะห่างระหว่างต้นตามความเหมาะสมประมาณ 3-5 เมตร     

ต้นกล้วย
ต้นกล้วย ลำต้นค่อนข้างเล็ก กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง

การให้ปุ๋ย

 เมื่อต้นกล้วยตั้งลำต้นต้องใส่ปุ๋ย ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยเคมีเช่น สูตร 15-15-15 (ควรใส่เมื่อกล้วยเป็นลูกรุ่นแรก) หรือ สูตร 13-13-21 (ควรใส่เมื่อกล้วยเป็นลูกรุ่นถัดๆไป)  ควรมีการบำรุงรักษาตามสภาพดิน ใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกทุกปีตามความเหมาะสม

การตัดแต่งหน่อ

  1. การแต่งหน่อภายในกอ โดยแต่งทุกอาทิตย์ เก็บไว้ 4 หน่อ รวมต้นเดิม 5 หน่อ ทำลายหน่อโดยการดึงยอดออกเพื่อไม่ให้มีหน่อมากเกินไป จะทำให้กล้วยมีปริมาณหวีมากและผลใหญ่สมบูรณ์ หน่อที่ติดกับต้นแม่(หน่อแอบแม่)ไม่ควรตัดออก เพราะอาจทำให้ต้นล้ม หากจำเป็นต้องตัดออก ต้องมีการค้ำลำต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นล้ม
  2. แต่งหน่อ โดยไม่ตัดหน่อที่แพร่ขยายลงดินออกไป ให้ตัดหญ้า กำจัดวัชพืชออก ใส่ปุ๋ยบำรุงโดยอาจใช้ปุ๋ยคอกและ/หรือ ปุ๋ยเคมี 13-13-21 เพื่อบำรุงลูก (ห้ามตัดหน่อที่อยู่ข้างหน้าลำต้นที่ให้ผลผลิตออก เพื่อกันไม่ให้ลำต้นดังกล่าวล้ม)
  3. อาจมีการกรีดลำต้นอย่าให้ลึกเกิน (กาบแรก) โดยกรีดยาวประมาณ 1 คืบ ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร (หลังจากปลูกแล้ว 3 เดือน) โดยกรีดบริเวณที่กาบรัดลำต้นแน่น เพื่อทำให้ลำต้นขยายโตเร็วขึ้น ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจมีการตัดยอด โดยตัดเป็นลักษณะเฉียง เพื่อไม่ให้น้ำขังบริเวณบาดแผลที่ตัด และลดการคายน้ำของลำต้น ทำให้ลำต้นเก็บกักน้ำและโตเร็วขึ้น โดยที่ลำต้นไม่สูงเกินไป ไม่เสี่ยงต่อการหักโค่น
ผลกล้วยเล็บมือนาง
ผลกล้วยเล็บมือนาง ผลจะเรียวเล็กคล้ายนิ้วมือสุภาพสตรี

การเก็บเกี่ยว

เมื่อกล้วยเล็บมือนางผลสุกโตเต็มที่ จะเกี่ยวเก็บผลผลิต มีสีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง แล้วตัดมาทั้งเครือ 

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.gotoknow.org, www.mix4dd.blogspot.com, www.flickr.com

 

2 Comments

Add a Comment