การปลูกดอกดาหลา สามารถปลูกได้ทุกฤดู

ดาหลา

ดาหลา เป็นไม้ดอกที่มีการปลูกมาเป็นระยะเวลานานแล้วทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเดิมได้มีการนําหน่ออ่อนและดอกมาใช้เป็นผักประกอบอาหารบางประเภท ปัจจุบันได้มีการนํามาปลูกเป็นไม้ตัดดอกมากขึ้น เนื่องจากดาหลา เป็นไม้ดอกที่ให้ดอกดกในฤดูร้อนขณะที่ไม้ดอกชนิดอื่นๆ ไม่ค่อยจะมีดอก ประกอบกับดอกมีขนาดใหญ่ สีสดใส รูปทรงแปลกตา ทําให้เป็นที่สนใจของผู้พบเห็นและเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จากความต้องการซื้อขายดอกที่ตลาดปากคลอง มีปริมาณถึง 200-500 ดอกต่อสัปดาห์ มีมูลค่า3,000 – 7,500 บาท นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกต้นพันธุ์ได้บ้างแหล่งผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.บางกรวย จ. นนทบุรี อ.ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี อ. เมือง จ.กระบี่

การขยายพันธุ์

พันธุ์ ปัจจุบันพันธุ์ดาหลาที่ปลูกตัดดอกมีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์สีชมพู และพันธุ์สีแดง

ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้

  1. การแยกหน่อ ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนําไปปลูก คือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อน กึ่งแก่ประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีดตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อนๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นําไปชําในถุงพลาสติก 1 เดือน เพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนนําไปปลูก
  2. การแยกเหง้า โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนําไปชําในแปลงเพาะชํา วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก
  3. การปักชําหน่อแก่ โดยนําไปชําในแปลงเพาะชําให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง
ต้นดาหลา
ต้นดาหลา ลำต้นลักษณะคล้ายข่า มีเเหง้าใต้ดิน

ปัจจัยการผลิต

แสง
ดาหลาเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทําให้ใบไหม้

ฤดูปลูก
การปลูกดาหลาสามารถปลูกได้ทุกฤดู แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุด คือ ฤดูฝน เริ่มตั้ง แต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งดาหลาจะมีการเจริญเติบโตทางด้านลําต้นและแตกหน่อ ช่วงที่ดาหลาแตกหน่อได้มากคือ เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม แต่ในที่ที่มีน้ำเพียงพอไม่จําเป็นต้องรอฤดูฝน

การเตรียมแปลง

พื้นที่ดอน
ทําการพรวน ตากดินไว้ประมาณ 5 – 7 วัน และย่อยดินให้ละเอียดเก็บวัชพืชออกให้หมด
พื้นที่ลุ่ม
ทําการขุดยกร่องสวนมีคูนํ้าลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตร แปลงปลูกกว้าง 2-3 เมตร ความยาวตาขนาดของพื้นที่ และมีการไถพรวนตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บวัชพืชออกให้หมด

การเตรียมดิน
การเตรียมดินโดยไถพรวนดินแล้วขุดหลุมปลูกจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมในกรณีที่ปลูกดาหลาแบบไม่ยกร่องสวนจะทําการไถปรับดินให้สมํ่าเสมอ เพิ่มปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 20-20-20 ในอัตรา 1 : 25 แล้วขุดหลุมปลูกแบบเดียวกับการปลูกแบบยกร่องสวนนี้อาจปลูกแซมในไม้หลัก เช่น ไม้ผล

ระยะปลูก
การปลูกดาหลาจะไม่มีระยะปลูกที่แน่นอน แต่จะขึ้นอยู่กับความต้องการและความสะดวกของเกษตรกรเอง โดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะปลูกในระยะ 2 x 2 เมตร

การปลูก
โดยใช้หน่อที่มีเหง้าและรากติดมาด้วย เหง้าที่ตัดมาควรมีความยาวประมาณ 5 นิ้วโดยสังเกตให้หน่อนั้นๆ มีใบติดมาประมาณ 4 คู่ใบ ปลูกลงในหลุมที่เตรียมไว้ แล้วทําการกลบดินให้สูง ประมาณ 6 นิ้วรดนํ้าให้ชุ่มอาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพอกทับโคนต้นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นอกจากนี้ควรหาไม้หลักมาผูกติดกับลําต้นกันต้นโยก

การปฏิบัติดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย
จะให้ปุ๋ยดาหลาประมาณ 2 – 3 เดือนต่อครั้งซึ่งจะใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ (16-16-16) ในอัตรา 96 กก./ไร่/ปี และให้ปุ๋ยคอกในอัตรา 15 กก./ต้น/ปี นอกจากนี้อาจใช้อินทรีย์วัตถุที่ผุพังแล้ว เช่น ใบไม้ต่างๆ หรือลําต้นแก่ของดาหลา, วัชพืชที่ขึ้นตามท้องร่องมาเป็นปุ๋ยหมัก หรืออาจใช้ดินเลนจากท้องร่องพูนใส่ตามโคนต้นซึ่งดินแลนนี้จะมีอินทรีย์วัตถุสูง

การใหน้ำ
ดาหลาเป็นพืชที่ต้องการนํ้าในปริมาณที่มากพอสมควร โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของการปลูก ควรรดนํ้าให้ชุ่ม โดยใช้แครงสาดวันละ 1 ครั้ง เมื่อต้นดาหลาตั้งตัวได้อาจเว้นระยะห่างของการให้น้ำจากวันละครั้งออกไปเป็นประมาณ 2-3 วันต่อครั้งแต่ต้องคํานึงถึงสภาพอากาศ ถ้าเป็นฤดูร้อนควรเพิ่มการให้น้ำมากขึ้นโดยใช้ระบบการให้น้ำแบบพ่นฝอย (springkler) บนแปลงที่ไม่ยกร่อง

การป้องกันกำจัดวัชพืช
ดาหลาเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกหน่อได้มากทําให้กอแน่น ใบบังแสงซึ่งกันและกัน การกําจัดวัชพืชจะต้องกระทํามากในช่วงแรกของการปลูก เมื่อดาหลาโตมากๆ จะทําให้แสงที่ส่องผ่านมากระทบพื่นดินน้อย วัชพืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จึงไม่ต้องทําการกําจัดวัชพืชมากนัก

การปลูกดาหลา
การปลูกดาหลา สามารถปลูกได้ทุกฤดู

โรคและแมลง

ยังไม่พบโรคที่เป็นปัญหาสําคัญกับดาหลา แต่มีแมลงสําคัญดังนี้
หนอนเจาะลําต้น
ลักษณะการทําลาย เข้าทําลายต้นแก่ โดยไปเจาะบริเวณลําต้น ทําให้ต้นดาหลาหยุดชะงักการเจริญเติบโตและไม่สามารถให้ออกดอกได้
การป้องกันกําจัด ใช้ฟูราดาน 3% โรยบริเวณรอบๆโคนต้น หรืออาจใช้เซฟวิน

มดแดง
ลักษณะการทําลาย กรดจากสิ่งขับถ่ายของมดแดงจะทําให้กลีบดอกเกิดรอยขาวเป็นจุดๆ
การป้องกันกําจัด เก็บรังมดแดงออกจากต้น และใช้ยาฆ่ามด

การเก็บเกี่ยว

ดอกดาหลาที่ มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้มีอายุประมาณ 2 อาทิตย์ นับตั้งแต่เริ่มแทงหน่อดอก ตัดดอกใน ช่วงเช้าโดยการตัดก้านดอกให้ยาวชิดโคนต้น แล้วแช่ก้านดอกลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

ดอกดาหลาที่ตัดมาแล้วจะนํามาแช่ในนํ้าสะอาด เพื่อป้องกันการเหี่ยวใช้ถุงพลาสติกใส่ห่อ ดอกแต่ละดอก เพื่อป้องกันไม่ให้กลีบดอกห้อยและชํ้า จากนั้นจึงนําถังที่บรรจุดอกไม่ขึ้นไปส่งให้แก่พ่อค้า อายุการปักแจกัน ดอกดาหลาเมื่อตัดจากต้นแล้วนํามาปกแจกันในนํ้าสะอาดจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 3 – 7 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

ดาหลาดอกแดง
ดาหลาดอกสีแดง

ต้นทุนการผลิตต่อไร่

ต้นทุนการผลิตดาหลา
ต้นทุนการผลิตดาหลา

การจำหน่าผลผลิต
ส่งดอกดาหลาให้แก่ร้านดอกไม้ โรงแรมฯ หรือส่งขายให้กับพ่อค้าตลาดปากคลองตลาด

ราคาผลผลิต
ดอกดาหลามีราคาสูงหรือตํ่าต่างกันขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน เช่น แหล่งปลูกผู้รับซื้อ และผู้ปลูกเอง ดอกดาหลามีราคาตั้งแต่ 8-50 บาท ต่อดอก นอกจากนี้ยังมีการขายหน่อพันธุ์ซึ่งราคาขายก็ต่างกัน เช่นเดียวกับดอก คืออยู่ในช่วง 50 – 300 บาทต่อหน่อ

ปัจจุบันราคาหน่อพันธุ์ดาหลายังคงสูงอยู่ เกษตรกรผู้ปลูกดาหลาปัจจุบันจึงได้รายได้จากการขยายหน่อพันธุ์ด้วย แต่เนื่องจากดาหลาขยายพันธุ์ได้ไม่ยากนัก และมีเกษตรกรบางรายขยายพันธุ์ดาหลา โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จึงคาดว่าต่อราคาพันธุ์จะต่ำลง และมีการขยายพื้นที่ปลูกเป็นการค้าเพื่อการตัดดอกมากขึ้น

การตลาดในปัจจุบันเป็นปัญหาสําคัญของเกษตรกรผู้ปลูกดาหลา เพราะเกษตรกรขาดข้อมูลเรื่องความต้องการของตลาด ทําให้ขาดความมั่นใจในการลงทุน ดังนั้นเกษตรที่ประสบผลสําเร็จในการปลูกดาหลาในปัจจุบันจึงเป็นเกษตรกรที่มีการโฆษณาตนเอง และสามารถหาตลาดได้เอง

ดอกดาหลาชมพู
ดอกดาหลาสีชมพู

ราคาขายดาหลา

ราคาขาย ณ วันที่ 22 เมษายน 2565

  • ดาหลา (ใหญ่สวย)  ราคากิโลกรัมละ 120  บาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.simummuangmarket.com
https://www.flickr.com

Add a Comment