การเพาะเห็ดหอมจากขี้เลื่อย สามารถนำไปทำเป็นอาชีพได้

การเพาะเห็ดหอม

การเพาะเห็ดหอมในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสําเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม่ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลส และลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุดและช่วยแก้ไขปัญหาการนําไม่ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมไดอีกอย่างหนึ่ง

เห็ดหอมสด
เห็ดหอมสด หมวกเห็ดจะมีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้ม

วัสดุอุปกรณ์

  1. วัสดุเพาะที่ได้ผลดีคือ ขี้เลื่อยไม้มะขาม รองลงมาคือขี้เลื่อยยางพารา ขี้เลื่อยไม้กระถินณรงค์ หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณหมักและวัสดุเสริม ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ ขี้เลื่อย 100 กก. รำข้าว 5 กก. น้ำตาลทราย 2 กก. ดีเกลือ 0.2 กก. ยิบซั่ม 0.5 กก. ผสมนํ้าให้มีความชื้น 55-65%
  2. ถุงพลาสติกทนร้อน และอุปกรณ์การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
  3. หม้อนึ่งความดัน หรือถังนึ่งไม่อัดความดันพร้อมอุปกรณ์การให้ความร้อนในการนึ่งฆ่าเชื้อ
  4. โรงเรือน หรือสถานที่บ่มมีเส้นใยและให้ผลผลิต

วิธีเพาะ

  1. ผสมวัสดุเพาะและวัสดุเสริมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือแฉะ ให้วัสดุพอจับตัวกันได้ เมื่อบีบดูต้องไม่มีหยดน้ำ เมื่อคลายมือออกส่วนผสมต้องไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว
  2. บรรจุส่วนผสมลงในถุงพลาสติกทนร้อน อัดแน่นพอประมาณ ถุงละ 1/2 กก.- 1 กก. ใส่คอ ขวดปิดจุกสําลี และปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาครอบกันไอน้ำ
  3. แล้วนําไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่ง ความดันเป็นเวลา 40 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ด้วยความดัน 15- 20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (หรือใชถังนึ่งไม่อัดความดันก็ได้ผลดีพอควร โดยเริ่มจับเวลาตั้งแต่ไอน้ำเดือดพุ่งตรงสมํ่าเสมอเป็นเวลา2-4 ชั่วโมง ต้องรักษาระดับไอนําไว้ตลอดเวลาด้วยการปรับความร้อนให้มีอุณหภูมิภายในถังนึ่ง 85-100 องศาเซลเซียสตลอดเวลา) แล้วทิ้งให้เย็น 
  4. แกะกระดาษหรือฝาครอบออก เปิดจุกสําลีแล้วใส่เชื้อเห็ด (นิยมใช้หัวเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่าง) ควรทําในบริเวณที่สะอาด ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค แล้วนําไปบ่มเส้นใย
การใช้ขี้เลื่อย
การใช้ขี้เลื่อยมาคลุกน้ำ ทำเป็นส่วนผสมในการเพาะเห็ด

การบ่มเส้นใย

ระยะเวลาที่บ่มเส้นใย 3-4 เดือน ขึ้นกับนําหนักอาหารที่ใช้ หรือมีการสร้างตุ่มดอกประมาณ 2/3 ของก้อนเชื้้อ

ปัจจัยที่สำคัญและการดูแล

  1. อุณหภูมิ
    การบ่มเส้นใยเห็ดหอมที่ดีที่สุดคือที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส การทําห้องหรือโรงเรือนที่ตั้งอยู่ใต้ร่มเงาไม้สำหรับบ่มเส้นใยอย่างง่าย เช่น ทําจากหญ้าคา, จากฟาง, ไม้ไผ่ฯลฯ ก็ได้ และมีการให้นํ้าภายนอกโรงเรือน หรือบริเวณพื้นโรงเรือนเป็นครั้งคราวเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส
  2. ความชื้น
    ระยะบ่มเส้นใย ต้องการความชื้นในบรรยากาศในระดับปกติ คือ ประมาณ 50% ไม่ต้องให้นาที ถุงเห็ด ถ้ามีความจําเป็นต้องให้นาโรงเรือนต้องระวังมิให้นาถูกสําลีที่จุกปากถุง เพราะจะเป็นทางทําให้เกิดเชื้อโรคไปทําลายเชื้อเห็ดได้ ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการสร้างดอกเห็ดและการเจริญของดอกเห็ด อยู่ระหว่าง 80-90% และ 60-70% ตามลําดับ การผ่านลมเย็นในขณะดอกเห็ดเจริญจะทําให้หมวกเห็ดแตก คล้ายกับดอกเห็ดหอมที่นำเข้าจากต่างประเทศ
  3. อากาศ
    การถ่ายเทอากาศที่ดีจำเป็นต่อการเจริญของดอกเห็ด และทําให้มีการสะสมเชื้อโรคน้อยลงถ้ามี การสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทําให้เห็ดมีก้านยาว บางครั้ง หมวดเห็ดอาจจะไม่เจริญหรือมี ลักษณะผิดปกติอื่นๆ
  4. แสงช่วยกระตุ้น ให้เส้นใยเกิดตุ่มเห็ด สร้างแผ่นสีน้ำตาล และเจริญเป็นดอกเห็ดได้เร็วกว่าที่มือและยังช่วยให้หมวดเห็ดมีสีเข้มไม่จางซีด
  5. การแช่นําเย็น หลังจากบ่มเส้นใยสมบูรณ์แล้ว ให้แช่ก้อนเชื้อในน้ำเย็น 2 ชั่วโมง หรือค้างคืนก็ได้เพื่่อกระตุ้นให้เกิดดอก
การเพาะเห็ด
การเพาะเห็ด นำเชื้อเห็ดใส่ในถุง กดให้แน่น

การให้ผลผลิต

โดยเปิดปากถุงให้ออกดอกทางด้านบนหรือเปลือยก้อนเชื้อโดยแกะถุงพลาสติกออกทั้งหมดให้ก้อนเชื้อสัมผัสอากาศเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดถ้าต้องการเห็ดดอกใหญ่ก็เปิดให้มีการเกิดดอกเป็นบางส่วน การเปลือยก่อนเชื้อจะได้ดอกเห็ดจํานวนมากแต่ดอกจะเล็ก และอาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคหรือถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมได้ง่าย ผลผลิตดอกเห็ดสดจะได้ 50-400 กรัมต่อก้อนเชื้อ 1/2 – 1 กก. ขึ้นกับความใส่ใจและเทคนิควิธีการของผู้เพาะเห็ด

การเก็บผลผลิตและการทำแห้งที่ถูกวิธี

ในการเก็บผลผลิตนั้น ควรเก็บดอกเห็ดขณะที่หมวกเห็ดยังไม่บานเต็มที่ หรือขอบหมวกยังงุ้มอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ตลาดต้องการ และอย่าได้ส่วนของดอกเห็ดเหลือติดอยู่ที่ก้อนเชื้อ จะทําให้เน่าเสียและเกิดโรค ในขณะที่เก็บผลผลิตถ้ามีการให้น้ำที่ดอกเห็ดมากเกินไปจะทําให้ดอกเห็ดเน่าเสียง่าย ถ้าไม่มีการให้น้ำดอกเห็ดเมื่อ เก็บดอกเห็ดแล้วใส่ถุงพลาสติกไว้จะสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 3-4 สัปดาห์
การทําแห้งเห็ดหอม ทําได้ 2 วิธี

  1. การตากแห้ง
    โดยตากแดด จนกว่าดอกเห็ดจะแห้งสนิท ควรหลีกเลี่ยงตากแดดจัดมากเกินไป เพราะจะทําให้ดอกเห็ดไหม้เกรียมและควรควําดอกเห็ดให้ครีบอยู่ด้านใต้เพื่อป้องกันครีบสีคล้ำ การตากแดดเป็นวิธีลดความชื้นในดอกเห็ดในเวลาอันรวดเร็ว ทําให้ดอกเห็ดยุบตัวมากเมื่อดอกเห็ดแห้งสนิทดีแล้ว เก็บในภาชนะที่กันความชื้นมิฉะนั้น อาจจะมีเชื้อราเกิดขึ้นได้
  2. การอบแห้ง
    ใช้ลมร้อนค่อยๆ ลดความชื้นภายในดอกเห็ด ซึ่งจะได้เห็ดที่มีคุณภาพที่ดีกว่าเห็ดที่ตากแดด การอบใช้อุณหภูมิเริ่มแรกประมาณ 30 องศาเซลเซียส จากนั้นเพิ่มอุณหภูมขึ้นทีละ 1-2 องศา ทุก 1 ชั่วโมง จนถึง 50 องศาแล้วเพิ่มให้เป็น 60 องศาและรักษาอุณหภูมิระดับนี้ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มรสชาติ กลิ่น และทําให้ดอกเห็ดหอมมีลักษณะเป็นเงาสวยงาม
กระเพาะปลา
เมนูกระเพาะปลาใส่เห็ดหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com
https://www.simummuangmarket.com

Add a Comment