กาหลง ปลูกประดับบ้านและ เป็นยาสมุนไพร

กาหลง

ชื่ออื่นๆ : เสี้ยวน้อย, เสี้ยวดอกขาว (ภาคเหนือ) กาแจ๊ะกูโด (นราธิวาส)

        ต้นกำเนิด : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : กาหลง Snowy Orchid Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia acuminata, L

ชื่อวงศ์ : Caesalpiniaceae

ลักษณะของกาหลง

ต้น  เป็นไม้พุ่มที่มีลำต้นสูงประมาณ 1 – 3 เมตร มีเปลือกเรียบสีน้ำตาล

ใบ  มีใบเดี่ยวรูปไข่ออกเรียงสลับกัน โดยปลายใบนั้นจะเว้าลึกเข้ามาถึงเกือบครึ่งใบ โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายเส้นกลางใบเป็นติ่งแหลมๆ และปลายแฉกทั้งสองข้างจะแหลม ผลัดใบช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม แล้วจะขึ้นมาใหม่ในช่วงหน้าร้อน หรือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม

ดอก  ดอกจะมีสีขาวออกเป็นช่อสั้นๆ ตรงปลายกิ่ง ช่อละประมาณ 2 – 3 ดอก มีดอกย่อยสีขาวกลิ่นหอมอ่อนๆ บริเวณปลายกลีบมน โคนสอบ และมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวติดกันอยู่

ผล  ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักจะเป็นสันหนาๆ แต่ปลายและโคนฝักจะสอบแหลม ตลอดจนปลายฝักมีติ่งแหลมๆ ยื่นออกมา โดยต้นกาหลงนี้จะออกผลในเดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม

กาหลง
กาหลง โคนใบเป็นรูปหัวใจ ดอกมีสีขาว

การขยายพันธุ์ของกาหลง

ใช้กิ่ง/ลำต้น/โดยการตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่กาหลงต้องการ

ประโยชน์ของกาหลง

ปลูกประดับบ้านและเป็นยาสมุนไพร

สรรพคุณทางยาของกาหลง

ดอก – ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้เสมหะพิการ รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดศีรษะ และช่วยลดความดันโลหิต ให้รสสุขุม

คุณค่าทางโภชนาการของกาหลง

การแปรรูปของกาหลง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11433&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment