กาฬพฤกษ์ นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เป็นไม้มงคลประจำจังหวัดบุรีรัมย์

กาฬพฤกษ์

ชื่ออื่นๆ : กาฬพฤกษ์ (กรุงเทพฯ)

ต้นกำเนิด : เมริกาเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Pink Shower , Horse cassia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia grandis L.f.

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะของกาฬพฤกษ์

ต้น ไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำ แตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล

ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยมี 10-20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ด้านบนเป็นมัน ด้านล่างมีขน

ดอก ดอกออกป็นช่อ เริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ ระยะออกดอกเดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม

ผล เป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม รูปทรงกระบอก โคนและปลายสอบ เปลือกหนาแข็ง ขรุขระ ที่ขอบฝักเป็นสันตามแนวยาวทั้ง 2 ข้าง ขนาดกว้าง 0.8-1.2 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. เมล็ดอ่อนสีครีม เมล็ดแก่สีน้ำตาล มีจำนวน 20-40

ใบกาฬพฤกษ์
ใบกาฬพฤกษ์ ใบ ประกอบแบบขนนก
ผลกาฬพฤกษ์
ผลกาฬพฤกษ์ ผลเป็นฝัก ฝักแก่แห้งไม่แตก ค่อนข้างกลม

การขยายพันธุ์ของกาฬพฤกษ์

ใช้เมล็ด/กิ่ง หน่อ หัว ใบ เหง้า ไหล เป็นต้น

โดยนำไปชำ ตอน แบ่งแยก ติดตา เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) ให้เกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมาได้
ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยไม่ต้องอาศัยเพศ คือไม่กลายพันธุ์ สะดวกต่อการดูแลรักษา ได้ผลเร็ว และสามารถขยายพันธุ์พืชที่ยังไม่มีเมล็ดหรือไม่สามารถมีเมล็ดได้ แต่มีข้อเสียคือ ไม่มีรากแก้ว บางวิธีขยายพันธุ์ได้คราวละไม่มาก ต้องใช้เทคนิคและความรู้ช่วยบ้าง เช่น การตอน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
วิธีการขยายพันธุ์พืชแบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี ในที่นี้จะแนะนำเฉพาะวิธีที่ใช้บ่อย และนำไปเลือกใช้กับการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร ที่จะแนะนำต่อไปได้ ส่วนวิธีการอื่น หากสนใจ สามารถศึกษาได้จากตำราวิชาการด้านการเกษตร 2

ธาตุอาหารหลักที่กาฬพฤกษ์ต้องการ

ประโยชน์ของกาฬพฤกษ์

  • คนสมัยก่อนจะใช้เนื้อในฝักกินกับหมาก
  •  เนื้อไม้และเปลือกมีสารฝาด สามารถนำมาใช้ในการฟอกหนังได้
  • นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป
  • เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลแก่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ดอกกาฬพฤกษ์
ดอกกาฬพฤกษ์ ดอกเริ่มบานสีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูตามลำดับ

สรรพคุณทางยาของกาฬพฤกษ์

ส่วนที่ใช้ : เนื้อในฝัก เปลือก เมล็ด
สรรพคุณ :

  • เนื้อในฝัก – ปรุงรับประทานเป็นยาระบายอ่อนๆ
    ขนาดรับประทาน – รับประทานได้ถึงครั้งละ 8 กรัม ไม่ปวดมวนและไม่ไซ้ท้องเลย แต่ความแรงสู้คูนไม่ได้
  • เปลือก และ เมล็ด – รับประทานทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายพิษไข้ได้ดี

คุณค่าทางโภชนาการของกาฬพฤกษ์

การแปรรูปของกาฬพฤกษ์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11466&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment