กำลังเสือโคร่ง เปลือกต้นใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง

กำลังเสือโคร่ง

ชื่ออื่นๆ : กำลังพญาเสือโคร่ง 

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้และคาบสมุทรอินโดจีน

ชื่อสามัญ : Birch

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides Buch.-Ham.ex G.Don

ชื่อวงศ์ : Betulaceae

ลักษณะของกำลังเสือโคร่ง

ต้น เป็นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 20 เมตร ทิ้งใบช่วงสั้นๆ เปลือกมันเหลือบ สีน้ำตาลเทามีรอยระบายอากาศเห็นชัดเจน เปลือกและกิ่งอ่อนมีน้ำมันหอมระเหย คล้ายกลิ่นน้ำมันมวยหรือกการบูร

ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ถึงรูปไข่แกมรูปหอก ใบแตกใหม่เนื้อใบบาง ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านมน ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก

ดอก เป็นช่อ ลักษณะเป็นพวงห้อยแบบหางกระรอก ออกตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็ก ช่อดอกเพศผู้ยาว 5-8 ซม. ช่อดอกเพศเมียยาว 3-8 ซม. กลีบรองกลีบดอก เป็นรูปโล่ห์ หรือเกือบกลม

ผล ขนาดเล็กสีน้ำตาล เมื่อแก่หลุดร่วงง่าย แบนเป็นปีก 2 ข้างขนาด 2.5-3 ซม.

ต้นกำลังเสือโคร่ง
ต้นกำลังเสือโคร่ง ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง
ใบกำลังเสือโคร่ง
ใบกำลังเสือโคร่ง เนื้อใบบางปลายใบแหลม ขอบใบหยัก

การขยายพันธุ์ของกำลังเสือโคร่ง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กำลังเสือโคร่งต้องการ

ประโยชน์ของกำลังเสือโคร่ง

  • ไม้เนื้อแข็ง ทนทาน นิยมใช้ในงานก่อสร้าง
  • เปลือกมีน้ำมันหอม มีฤทธ์เป็นยา ใช้ทำเหล้า
  • ใบใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
  • เปลือกต้นใช้ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • เปลือกต้นใช้ดองเหล้าเป็นยาสมุนไพร
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ดอกกำลังเสือโคร่ง
ดอกกำลังเสือโคร่ง เป็นพวงห้อยแบบหางกระรอก ออกตามง่ามใบ

สรรพคุณทางยาของกำลังเสือโคร่ง

  • มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลุ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่นทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
  • ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ
  • ชับลมในลำไส้
  • ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ
  • เปลือก ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นเป็นยาดองเหล้า หรือเครื่องดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อาการท้องร่วง เป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของกำลังเสือโคร่ง

การแปรรูปของกำลังเสือโคร่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9513&SystemType=BEDO
www.rspg.or.th, www.th.wikipedia.org, www.qsbg.or.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment