กุหลาบ ไม้ดอกที่มีกลิ่นหอม นิยมปลูกเพื่อความสวยงาม

กุหลาบ

ชื่ออื่นๆ : กุหลาบ

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : rose

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rosa hybrids

ชื่อวงศ์ : Rosaceae

ลักษณะของกุหลาบ

ต้น กุหลาบเป็นพรรณไม้ยืนต้น เป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความยาวประมาณ 30-200 เซนติเมตร ลำต้นเตี้ยและสูง มีหนามหรือไม่มีแล้วแต่ชนิดพันธุ์ลำต้นสีเขียวเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลแตกกิ่งก้านมารอบต้น

ใบ เป็นใบรวมแตกออกจากกิ่งก้านก้านใบจะมีหูใบติดอยู่ด้วยลักษณะใบโคนใบมนปลายใบแหลมขอบใบมีหยักเล็กน้อยตัวใบนิ่มมีสีเขียวใบจะออกจากก้านใบเป็นคู่ขนาดความกว้างของใบประมาณ 2-4 เซนติเมตรยาวประมาณ 35 เซนติเมตร

ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยวมีก้านดอกยาวแตกออกจากปลายกิ่งหรือง่ามใบที่กิ่งลักษณะดอกเป็นกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ประมาณ 4-6 ชั้นดอกมีกลีบ 5-15 กลีบขอบดอกเรียบตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่รวมกันดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆดอกบานมีความกว้างประมาณ 2-6 เซนติเมตรลักษณะของลำต้นใบดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

ต้นดอกกุหลาบ
ลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อย ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของกุหลาบ

ใช้กิ่ง/ลำต้น/กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณหน้าบ้านเพื่อความโดดเด่น และสว่างามของตนเอง ขนาหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 10-16 นิ้ว
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ขุยมะพร้าวหรือแกลบผุ:ดินร่วนอัตราอย่างละ1ส่วนผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง
เพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทด แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป และเพื่อความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่มด้วย

พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว

ดอกกุหลาบ
พันธุ์ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อน

ธาตุอาหารหลักที่กุหลาบต้องการ

ประโยชน์ของกุหลาบ

กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้
กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่นซิมบับเวโมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี

สรรพคุณทางยาของกุหลาบ

  • เมื่อนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด เลือดลมไหลเวียนดี ลดอาหารใจสั่น นอนหลับง่ายขึ้น
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี สามารถป้องกันการเกิดริ้วรอย ฟื้นฟูเซลล์ผิวภายในให้แข็งแรง
  • คืนความชุ่มชื่นให้กับผิวสามารถกักเก็บน้ำได้ดียิ่งขึ้น
  • ลดการเกิดสิวและการอักเสบของผิว ช่วยกระชับรูขุมขน

คุณค่าทางโภชนาการของกุหลาบ

การแปรรูปของกุหลาบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9874&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment