ก่อกระดุม
ชื่ออื่นๆ : ก่อกระดุม(ตราด) ก่อเซียก, ก่อหิน, ตองขน(เลย) ก่อตาหมูหลวง(เชียงใหม่) ก่อเนื้อริ้ว(ตรัง)
ก่อแอบ(เพชรบูรณ์)
ต้นกำเนิด : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quercu semiserrata
ชื่อวงศ์ : FAGACEAE
ลักษณะของก่อกระดุม
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 20-30 เมตร เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาดำ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่หรือรูปรี โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักตื้น แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า มีขนประปราย
ดอก ดอกเล็กมาก แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้แบบช่อหางกระรอก ห้อยลงสู่พื้น ช่อดอกเพศเมียตั้งขึ้น
ผล ผลรูปไข่แกมรูปรี มีขนนุ่มประปราย ติดอยู่บนจานรองผลรูปถ้วย ประมาณ 1 ใน 4 ของความยาวผล ผิวด้านนอกของจานรองเป็นเกล็ด เรียง 5-8 ชั้น มีขนนุ่มทั่วไป
การขยายพันธุ์ของก่อกระดุม
พบทั่วไปในป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา
ธาตุอาหารหลักที่ก่อกระดุมต้องการ
ประโยชน์ของก่อกระดุม
ที่อยู่อาศัย เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย เปลือกไม้ ใช้ย้อมผ้า หรือย้อมเส้นด้ายที่ใช้สานแห หรือยอ(คนเมือง)
สรรพคุณทางยาของก่อกระดุม
– เปลือกไม้ ทุบแล้วแช่น้ำข้าวทิ้งไว้ ทำให้มีรสเปรี้ยว แล้วเอาไปตาก เอามาเคี้ยวกับหมาก(คนเมือง)
คุณค่าทางโภชนาการของก่อกระดุม
การแปรรูปของก่อกระดุม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9512&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/